ทุกวันนี้เรื่องสุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญที่คนให้ความใส่ใจในระดับต้นๆ เนื่องจากเราหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยไม่ได้ เมื่ออายุมากขึ้น ระบบต่างๆ ของร่างกายก็ค่อยๆ เสื่อมถอย ประกอบกับรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำงานหนัก เวลามีน้อย ทุกอย่างต้องเร่งรีบไปหมดทั้งการกิน การนอน ขาดการออกกำลังกาย และไหนต้องผจญกับมลภาวะ จึงทำให้คนในวัยทำงานมีภาวะอาการป่วยเป็นโรคในกลุ่ม NCDs เพิ่มขึ้น ซึ่งแน่นอนเมื่อเกิดความเจ็บป่วยสิ่งที่ตามมาก็คือค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
NCDs กลุ่มโรคที่เราสร้างเอง
กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) หรือที่เราคุ้นกันดีในชื่อ “กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” เป็นกลุ่มโรคที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และไม่สามารถติดต่อได้ ประกอบด้วยโรคหลักๆ 6 โรค ได้แก่
- โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
- โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Cerebrovascular Diseases )
- โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
- โรคมะเร็ง (Cancer)
- โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- โรคอ้วนลงพุง (Obesity)
กลุ่มโรค NCDs นั้นถือเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ ซึ่งจากข้อมูลของปี 2552 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคกลุ่มนี้มากว่า 300,000 ราย หรือ คิดเป็น 73% ของอัตราการเสียชีวิตทั้งหมด โดยมีสาเหตุมาจาก 4 โรคร้ายแรงหลัก คือ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคมะเร็ง และมีแนวโน้มว่า จะมีผู้ป่วย และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคสูงขึ้น
[ที่มา: “กลุ่มโรค NCDs” สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)]
พฤติกรรม สู่กลุ่มโรคร้าย NCDs
อย่างที่รู้กันดี กลุ่มโรค NCDs เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจาการติดเชื้อ ไม่ติดต่อ แต่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรม การใช้ชีวิตที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค ทั้ง การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย หรือ มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย และ การทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (วาน มัน เค็ม) มากจนเกินไป ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ หากสามารถลด ละ เลิก และปรับเปลี่ยนได้ ก็สามารถลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นกลุ่มโรค NCDs ได้มากถึง 80% ลดโอกาสในการเป็นมะเร็งได้ 40% โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ และโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2 ได้ถึง 80% เลยทีเดียว
ใครเสี่ยงเป็น NCDs
กลุ่มโรค NCDs เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับคนในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะกลุ่มคนในวัยทำงาน เนื่องจากมีภาระหน้าที่การงานเยอะ พักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่ม สูบ สังสรรค์บ่อย ความเครียดสูง ขาดการดูและใส่ใจสุขภาพ มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ซึ่งคนกลุ่มนี้ถือเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงและกำลังหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว และเมื่อมีอายุมากขึ้น ความเสี่ยงในการเกิดโรคก็สูงขึ้นด้วย
NCDs สร้างเอง ก็ลดความเสี่ยงได้เอง
เมื่อเรารู้ถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแล้ว เราเองก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคในกลุ่ม NCDs ได้ด้วยตนเอง โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเสียตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยหลัก “3อ 2ส” [ห่างไกลโรค NCD ด้วยหลัก 3 อ 2 ส, สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)]
อ1 อ.อาหาร
เลือกทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ และ ธัญพืชต่างๆ ลดการทานอาหารแปรรูป และอาหารที่ หวาน มัน และเค็ม มากจนเกินไป ซึ่งการปรับเปลี่ยนอาหาร และโภชนาการ ถือเป็นส่วนนึงที่สำคัญอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงสุขภาพ “you are what you eat” (กินอย่างไร ได้อย่างนั้น) อาหารที่ดี มีประโยชน์ ในปริมาณที่พอเหมาะ จะสามารถช่วยให้รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ ไม่อ้วนจนเกินไป เพราะความอ้วนนั้น เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในกลุ่ม NCDs หลายๆ โรค ทั้ง โรคความดัน เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจ
อ2 อ.ออกกำลังกาย
ควรหาเวลาออกกำลังกาย หรือเพิ่มกิจกรรมทางกายให้มากขึ้น โดยเลือกกิจกรรมที่ชื่นชอบ ในเวลาที่สะดวก และสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอโดยทำอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์ หรือจะเป็น 30-40 นาที 3-4 วันต่อสัปดาห์ก็ได้ หรือ หากใครไม่มีเวลาไปออกกำลังกาย ให้ใช้วิธีการเพิ่มกิจกรรมทางกายในระหว่างวัน เดิน ลุก ยืนให้มากขึ้น ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ หรือทำงานบ้าน ทำสวนด้วยตนเอง ซึ่งการออกกำลังกายและการมีกิจกรรมทางกายเป็นประจำ จะช่วยให้ร่างกาย และอวัยวะต่างๆ แข็งแรง ทำงานได้ดี เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
อ3. อ.อารมณ์
สุขภาพจิต และอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะความเครียด เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรค NCDs ได้ ทั้งความเครียดที่มาจากปัญหา การงาน การใช้ชีวิต และความเครียดที่มาจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งแก้ได้ด้วยการปรับพฤติกรรม ลองหาวิธีคลายเครียดในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดแบ่งเวลาในการทำงาน หาเวลาพักผ่อนหย่อนใจ ทำกิจกรรมที่ชอบ ไปท่องเที่ยว อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง หรือ พูดคุยปรึกษาปัญหาต่างๆกับคนในครอบครัว เพื่อนฝูง คนใกล้ชิด และเพิ่มการพักผ่อน การนอนหลับที่มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์ หรือ ดูทีวีก่อนนอน
ส1 ส.สูบบุหรี่
ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ และ หลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่
ส2 ส.สุรา
งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หากงด หรือหยุดไม่ได้ ใช้การลดปริมาณ ลดจำนวนครั้ง หรือลดความถี่ในการดื่มลง
“ประกันโรคร้ายแรง” วางแผนไว้ ก่อนโรคร้ายจะถามหา
เรื่องโรคภัยไข้เจ็บบางครั้งก็เป็นเรื่องสุดวิสัย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และเมื่อป่วย แน่นอนสิ่งที่จะตามมาก็คือ การขาดงาน ไม่สามารถไปทำงานได้ ทั้งขาดรายได้ และมีค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ที่ต้องดูแล ยิ่งหากเกิดกับคนวัยทำงานที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก็ถือเป็นภาระหนักที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งโรคกลุ่ม NCDs โดยเฉพาะโรคมะเร็งนั้น ถือเป็นภัยเงียบ มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ก็มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งบางครั้งกว่าจะทราบ หรือตรวจพบ ระดับอาการของโรคก็รุนแรงแล้ว ดังนั้นการดูแลสุขภาพเป็นประจำ หมั่นตรวจร่างกายประจำปีอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้
นอกจากนี้ การวางแผนเตรียมตัวกับสิ่งที่ไม่คาดคิด การเจ็บป่วยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างการทำประกันสุขภาพ หรือประกันโรคร้ายแรงไว้ ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งข้อดีของการมีประกันสุขภาพ และ ประกันโรคร้ายแรงไว้ ถือเป็นตัวช่วยที่ทำให้เรามั่นใจได้ว่า เมื่อเกิดการเจ็บป่วย ต้องการรักษา เราจะได้รับการรักษาที่เหมาะสม และส่วนนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาให้เราได้
แล้วจะมองหาประกันโรคร้ายแรง หรือประกันสุขภาพ ที่ไหนดี?
อุ่นใจด้วย ซิกน่า ประกันสุขภาพมิติใหม่ ซูเปอร์แพลน ประกันโรคร้ายแรง ประกันมะเร็ง
วางแผนไว้ซักหน่อย ก็ช่วยรับมือและเตรียมตัวกับที่ไม่คาดคิดได้ สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะทำประกันสุขภาพ ที่ไหนดี เพิ่มความมั่นใจด้วยประกันโรคร้ายแรงและโรคมะเร็ง ซิกน่า ซูเปอร์แพลน ประกันโรคร้ายแรง ประกันมะเร็ง คุ้มครองตั้งแต่เนื้องอก ซีสต์ มะเร็ง สามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเสริมได้ตามความเสี่ยงโรคร้าย ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด สำหรับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ดูแลค่ารักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องทั้งผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก เบี้ยเริ่มต้น 281 บาท/เดือน พร้อมสิทธิประโยชน์อื่นๆอีก ศึกษาหาข้อมูล และดูรายละเอียดแผนประกันโรคร้ายแรงก่อนการตัดสินใจ ได้ที่ เว็บไซต์ซิกน่า
References
เรียบเรียง : lovefitt.com
- “โครงการการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือของประเทศระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลกมกราคม 2560 - ธันวาคม 2564” (http://www.searo.who.int/en/)
- สื่อ “(การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อ (NCDs)” กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
- “กลุ่มโรค NCDs” สสส
- “NCDs กลุ่มโรคที่คุณสร้างเอง” สสส.
- “มะเร็ง ป้องกันและลดเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง” (www.bangkokbiznews.com)