ผักสดผลไม้ที่วางขายในท้องตลาดส่วนใหญ่ จะมีสารพิษของสารเคมีป้องกันและกำจัดกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่สารพิษจะเกาะกับผิวบางส่วนจะแทรกซึมเข้าในเนื้อเยื่อของพืช ผู้บริโภคไม่สามารถมองเห็นสารพิษที่ติดมากับผักผลไม้ ดังนั้นเราไม่ควรจะเลือกซื้อผักผลไม้ที่มีใบและรูปทรงสวยงามมากนักควรให้มีรูพรุนบ้างเพราะรูพรุนแสดงว่า ชาวสวนฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชไม่บ่อยมากเกินไป ผักบางชนิดสะสมสารพิษไว้มาก เช่น ผักกาด หัว ต้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการซื้อผักประเภทกินหัว เพราะผักประเภทนี้สะสมสารพิษไว้มากกว่าผักประเภทกินใบหากสามารถเลือกผักที่มีศัตรูพืชรบกวนน้อย การฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชก็อาจไม่มีความจำเป็น เช่น หน่อไม้ ผักบุ้งนา ชะอม มะละกอ ฟักทอง เผือก มัน หัวปลี ถั่วงอก เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ทุกครั้งที่ซื้อผักผลไม้จากตลาด ควรคำนึงถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากสารพิษที่ติดมากับผักผลไม้เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายดังกล่าวควรปฎิบัติวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
1. ล้างผักผลไม้ด้วยน้ำสะอาดโดย
1.1 แช่น้ำสะอาด 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษที่ติดมากกับผักผลไม้ได้ประมาณ 7-33 %
1.2 ล้างใต้ก๊อกน้ำ 2 นาที จะลดปริมาณสารพิษได้ประมาณ 54-63%
2. ล้างผักผลไม้ด้วยน้ำยาล้างผัก 0.3% จะลดปริมาณได้ประมาณ 54-63%
3. ล้างผักด้วยน้ำร้อนจะลดปริมาณสารพิษได้ประมาณ 50% ส่วนการต้มเป็นแกงจืดจะลดลงได้เท่ากับการลวกผัก แต่อีก 50% ของสารพิษออกจากผักจะอยู่ในน้ำแกงนั่นเอง
4. แช่ในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนท (ผงฟู) 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 4 ลิตร นาน 15 นาที จะลดปริมาณลงได้ประมาณ 50 % ถ้าผสมในน้ำอุ่นจะลดได้เกือบหมด ( 90-95% )
5. ล้างด้วยน้ำส้มสายชู 0.5 % จะลดปริมาณสารพิษได้ประมาณ 60-84%
6. การปอกเปลือกหรือลอกชั้นนอกของผักออก ถ้าลอกใบออก 4-5 ชิ้น จะปลอดภัยมากกว่า เพราะในชั้นนอกจะมีสารพิษตกค้างมากกว่าชั้นใน
Credits: http://maewfood.blogspot.com/2008/09/blog-post_24.html