ในช่วงที่เรามีประจำเดือนเราจะมีอาการหลากหลาย บางคนอาจจะอยากอาหารเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ร่างกายจะอมน้ำได้ง่ายกว่าปกติ ทำให้ตัวเราบวมๆ ในช่วงวันนั้นของเดือน บางคนอารมณ์แปรปรวน ฯลฯ ล้วนแต่เป็นผลมาจากฮอร์โมนในร่างกายเราที่เปลี่ยนแปลง
อาการตัวบวม เกิดจากการที่ฮอร์โมนบางตัวส่งผลให้ร่างกายสะสมน้ำไว้ในชั้นเนื้อเยื่อร่างกายมากขึ้น ผลก็คือจะทำให้น้าหนักตัวเพิ่ม อึดอัด ตัวบวม เต้านมคัดตึง โดยรวมคืออาการหงุดหงิดและไม่สบายกับร่างกาย เราเรียกอาการแบบนี้ทางการแพทย์ว่า ”กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน” ( PMS: Premenstrual Syndrome ) หนึ่งในกลุ่มอาการนี้ได้แก่ ตัวบวม หน้าท้องขยาย ร่างกายจะสะสมน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ผู้หญิงบางคนอาจมีน้ำหนักเพิ่มได้ถึง 1-2 กิโลกรัมในช่วงก่อนมีประจำเดือน หลังจากนั้นน้ำหนักจะลดลงได้เอง
อาการไม่สบายขณะมีรอบเดือนพบได้หลากหลายกว่า 150 ชนิด แต่เราสามารถแบ่งเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่
- เจ้าน้ำตา
- ท้องอืด (นี่เราก็เป็น)
- ขี้โมโห
- ไม่มีแรง
- หิวบ่อย (อันนีก็เป็น เป็นทุกเดือน)
- น้ำหนักขึ้น
อาการหิวบ่อย สาเหตุของอาการหิวบ่อยเกิดจากการที่สาร ”เซโรโทนิน”ในร่างกาย ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนมีรอบเดือนค่ะ ทำให้ร่างกายของเราต้องการคาร์โบไฮเดรตมากกว่าปกติ เพื่อให้ร่างกายใช้ของหวานไปเพิ่มสารตัวนี้ นับว่าเป็นกลไกทางธรรมชาติ เพราะอะไรผู้หญิงจึงได้มีอาการก่อนมีประจำเดือน แพทย์หลายคนจะตอบว่าเป็นเพราะสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ โดยเชื่อกันว่ามีฮอร์โมนอยู่สองชนิดที่น่าจะเกี่ยวข้องกับอาการนี้ นั่นคือ ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (Progesterone) และ โพรแลกติน (prolactin) ก่อนมีประจำเดือน ฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีระดับสูงขึ้น มีผลทำให้เราหงุดหงิด ขี้โมโห และมีอาการอื่นๆอีกเป็นร้อยอาการทีเดียว
ลดอย่างไรในขณะมีประจำเดือน
อย่างรู้ๆกันเมื่อเรากำลังอยู่ในโปรแกรมลดน้ำหนัก สิ่งที่คนลดความอ้วนพยายามทำกันก็คือ พยายามที่จะจำกัดอาหารให้เท่ากับที่ตนเองเคยรับประทานมาก่อนหน้านี้ แต่สุดท้ายก็ทนกันไม่ได้ เกิดอาการตะบะแตก และรับประทานไม่หยุดโดยเฉพาะอาหารขยะที่มีแคลอรี่และคาร์โบไฮเดรตสูง ทั้งนี้เพราะอาหารดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว สิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ คนมองข้ามไปก็คือ ช่วงก่อนมีประจำเดือนนั้น การเผาผลาญพลังงานของร่างกายก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยมีการทำการทดลองเรื่องการเผาผลาญพลังงานช่วงก่อนมีประจำเดือน และพบว่าการเผาผลาญพลังงานในช่วงก่อนมีประจำเดือนนั้นเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 100-500 kcal/วัน (แล้วแต่บุคคล) ในประเด็นดังกล่าวนี้ แนะนำว่า ให้คุณผู้หญิงที่ลดความอ้วนทุกคนที่มีอาการหิวโหยในช่วงเวลาก่อนที่มีประจำเดือนรับประทานอาหารได้เพิ่มมากขึ้น 200-500 kcal /วัน (ห้ามเกินกว่านี้เด็ดขาด) ซึ่งนั้นก็พอ ๆ กับอาหารอีก 1 มื้อ เช่นกัน
ดังนั้น หากคุณโหยหาอาหารช่วงก่อนมีประจำเดือนก็ทานเถอะ อย่าหักห้ามใจตัวเองให้มากนัก การที่หักห้ามใจไม่ทานอะไรเลยในช่วงก่อนที่จะมีประจำเดือนมักจะส่งผลเสียกับการลดน้ำหนัก เพราะโดยปกติแล้วส่วนใหญ่มักจะหักห้ามใจตนเองกันไม่ได้ และก็มักจะจบด้วยอาหารขยะทั้งหลาย สาเหตุหลักก็เพราะว่าเมื่อความอดทนถึงขีดสุด ความอยากอาหารก็จะปะทุออกมาอย่างรุนแรง เมื่อความอยากอาหารที่ประทุออกมามีมาก อาหารที่สามารถตอบสนองความอยากดังกล่าวได้ดีที่สุดก็มักเป็นอาหารขยะทั้งหลาย สุดท้ายก็มักจะจบลงด้วยการกินเกินกว่า 500 Kcal ดังนั้น คุณผู้หญิงควรจะเลือกกินอาหารที่เป็นประโยชน์เมื่อความหิวเริ่มประทุขึ้น อย่ารอให้ความหิวโหยดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึงขีดสุด ไม่อย่างงั้นคุณอาจจะควบคุมมันไม่ได้ โดยการนี้อาจจะค่อย ๆ เพิ่มการรับประทานขึ้นมาแล้วดูว่าปริมาณอาหารแค่ไห สามารถบรรเทาอาการความหิวโหยของคุณได้ โดยไม่ควรเพิ่มขึ้นเกินกว่า 500 Kcal /วัน ช่วงก่อนมีประจำเดือน
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าคุณจะพยายามสุดความสามารถแล้วแต่ก็ไม่สามารถลดความหิวโหยดังกล่าวได้ ก็ไม่ควรคิดมากจนเกินไป อย่าลืมว่าการเผาผลาญของคุณก็จะสูงขึ้นมากกว่าปกติอยู่แล้วในช่วงดังกล่าว นอกจากนี้แล้วหากมองโลกในแง่ดีการที่คุณทานมากขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ ขณะที่คุณลดความอ้วนอยู่ ยังเป็นการกระตุ้นฮอร์โมน Leptin ให้ทำงานได้ดีขึ้นและสุดท้ายก็จะส่งผลให้ระบบการเผาผลาญของคุณดีในระยะยาวอีกด้วย
Credit:ladytip.com,monthol.blogspot.com