น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เป็นน้ำมันที่ได้จากส่วนของเนื้อมะพร้าวแห้ง (Copra) นำมาผ่านกระบวนการสกัด แยกเหวี่ยง โดยไม่มีการเติมไฮโดรเจน และสารเคมีใดๆ เป็นน้ำมันที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น ฟลาวานอยด์ และ โพลีฟีนอล มีกรดไขมันอิ่มตัวชนิดที่มีประโยชน์ มีกรดไขมัน Omega 3 , 6 และ 9
กรดไขมันอิ่มตัวในมะพร้าวไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
นอกจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นจะถูกใช้อย่างแพร่หลายในด้าน ผิวพรรณ และความงามแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังได้รับความนิยมในการนำมาประกอบอาหารมากขึ้น ซึ่งน้ำมันมะพร้าวเป็นอาหารกลุ่มไขมันที่สามารถใช้เป็นพลังงานให้กับร่างกาย เช่นเดียวกับไขมันแหล่งอื่นๆ และคาร์โบไฮเดรต โดยไขมัน 1 กรัมจะให้พลังงาน 9 kcal
ในน้ำมันมะพร้าว มีกรดไขมันอิ่มสูง โดยเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดกลาง (Medium chain fatty acid) ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถ ย่อย ดูดซึม และนำไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว จึงถูกสะสมในเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) ได้น้อยกว่ากรดไขมันอิ่มตัวที่มีขนาดโมเลกุลยาว (Long chain fatty acid) และยังมีรายงานบางชิ้น สนับสนุนว่า การกินหรือใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหาร ไม่ทำให้ระดับไขมันที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด อย่างไขมันตัวร้าย (LDL) และไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น และยังช่วยเพิ่มระดับไขมันตัวดี (HDL) ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวอีกด้วย
การใช้น้ำมันมะพร้าวมาประกอบอาหาร
การเลือกใช้น้ำมันแต่ละชนิดในการปรุงอาหาร ควรเลือกชนิดของน้ำมันให้เหมาะสมกับระดับความร้อนในการปรุงอาหาร น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ใช้ในการทอด และผัด น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียว ใช้ในการผัด และ น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ใช้ผัดที่ความร้อนไม่สูงนัก หรือประกอบกับการทำน้ำสลัด
ด้วยที่น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง จึงเหมาะที่จะใช้ในการ ผัด และ ทอดกรอบอาหาร เพราะให้ความร้อนสูง ทอดอาหารแล้วกรอบได้นาน เปลี่ยนแปลงสภาพน้อยเมื่อเจอความร้อนสูงๆ มีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นหืน และไม่ทำให้ของทอดอมน้ำมัน อย่างไรก็ดี การใช้น้ำมันพืชในการทอดอาหาร สิ่งสำคัญคือ ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ควรใช้เพียง 1- 2 ครั้งแล้วทำการเปลี่ยนน้ำมันจะดีที่สุด
น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนชา ให้พลังงานราว 39 kcal และไม่มีคอเรสเตอรอล พลังงานทั้งหมดมาจากไขมัน การใช้น้ำมันมะพร้าวในการปรุงอาหาร ควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรเกินปริมาณไขมันรวมที่ร่างกายต้องการ คืออยู่ที่ประมาณ 25-30% ของปริมาณพลังงานรวมที่ร่างกายต้องการ
การเลือกน้ำมันมะพร้าวที่ดี
น้ำมันมะพร้าวที่ดีจะต้องมีความใส โปร่งแสง ไม่มีตะกอน หรือ สิ่งเจือปน มีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นหืน การเลือกควรอ่านฉลากประกอบสินค้าให้ละเอียด ตรวจสอบที่มา สถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐาน ตรวสอบส่วนผสม วันผลิต และวันหมดอายุเสมอ
ปัจจุบันน้ำมะพร้าวในท้องตลาดนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ( Virgin Coconut Oil ) มีความใสเหมือนน้ำ ไม่มีสี และน้ำมันมะพร้าว 100% สำหรับใช้ปรุงอาหาร (Coconut Cooking Oil) มีสีเหลืองอ่อนๆ ใส ไม่มีตะกอน ด้วยลักษณะของไขมันอิ่มตัวที่มีอยู่ในน้ำมันมะพร้าว จึงทำให้น้ำมันมะพร้าวเกิดการแปลงสภาพเป็นของแข็งเมื่อเจอกับความเย็น และ ละลายกลับไปเป็นของเหลวอย่างรวดเร็วเมื่อเจอความร้อน จึงไม่ต้องแปลกใจเมื่อพบน้ำมันมะพร้าวเป็นไขสีขาวบนชั้นในซุปเปอร์มาร์เก็ต
OrGreen (ออร์กรีน) น้ำมันมะพร้าวเพื่อคนรักสุขภาพ
น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร Orgreen (ออร์กรีน) ผลิตจากเนื้อมะพร้าวออร์แกนิคแห้ง 100% สกัดแบบแยกเหวี่ยง โดยไม่เติมไฮโดรเจน และสารเคมีใดๆ ทำให้น้ำมันมะพร้าวของ OrGreen (ออร์กรีน) ไม่มีกลิ่นของมะพร้าว รวมถึงไม่มีกลิ่นหืนมารบกวนกลิ่นอาหาร และไม่มีควันในขณะปรุงอาหาร
Orgreen (ออร์กรีน) น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร ประกอบด้วยกรดไขมันที่มีความอิ่มตัวสูง ไม่ใส่สารกันเสีย ไม่มีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ทนความร้อนได้ดี ไม่แปรสภาพทางเคมี เมื่อเจอความร้อนสูงๆ จากการทอด จึงนำมาใช้ ผัด และทอดกรอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูงๆ ได้ ทำให้อาหารกรอบได้นาน เพิ่มรสชาติของอาหารให้หอม อร่อย พร้อมได้คุณค่าทดีต่อสุขภาพ
น้ำมันมะพร้าว 100% สำหรับปรุงอาหารอร์กรีน มีจำหน่าย 3 ขนาด คือ 240 / 500 / 1000 มล. มีจำหน่ายแล้วในโซนน้ำมันพืชตาม ห้างสรรพสินค้า และ ร้านค้าชั้นนำทั่วไป
References
เรียบเรียง: lovefitt.com
- "ผลวิเคราะห์น้ำมัน16ชนิดในไทย ใช้เหมาะวิธีปรุง ลดสารก่อมะเร็ง" (bangkokbiznews.com)
- บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน "น้ำมันมะพร้าว กับ การลดน้ำหนัก" (pharmacy.mahidol.ac.th)
- “น้ำมันมะพร้าว ตัวช่วยสุขภาพดี ที่หลายคนมองข้าม” (health.kapook.com)
- orgreenthailand.com