Go to content

9 พระราชกรณียกิจที่ในหลวงทรงทำเพื่อเรา

พระราชกรณียกิจ 9 ด้าน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงทำเพื่อประชาชนชาวไทย

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นประมุขแห่งประเทศไทย ทรงเข้าพิธีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ ที่นำมาซึ่งเป็นประโยชน์แก่ชาวไทย

ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศ ไม่ว่าจะลำบากหรือทุรกันดารแค่ไหน พระองค์ก็ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปถึง ดังในปฐมพระบรมราชโองการในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ความว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม ”

และในปี พศ. ๒๕๓๙  จากการที่พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชนอย่างหนัก จึงได้มีการลงนามโดยประชาชนชาวไทยเพื่อถวายสมัญญานามให้พระองค์ ทรงเป็น “มหาราช” แห่งชาวไทย

พระราชกรณียกิจที่ทรงทำเพื่อคนไทย

พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พระองค์ทรงใช้ประสบการณ์ของพระองค์ และแนวพระราชดำริ ในการทำโครงการหลวงเพื่อการพัฒนาและวิจัย และยังพระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยเพื่อไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เพื่อให้นักศึกษาเหล่านั้นเมื่อจบการศึกษาแล้วจะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศ

พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ในฐานะประมุขของประเทศไทย ทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ เพื่อเป็นการเจริญทางพระราชไมตรีกับบรรดามิตรประเทศต่างๆประเทศใดที่มีความสัมพันธ์อันดีอยู่แล้วก็ให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างไกลมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมหาศาล โดยประเทศต่างๆที่ทรงพระราชดำเนินเยือนมีดังนี้

  • เวียดนามใต้ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ ธันวาคม ๒๕๐๒ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศครั้งแรก ในรัชกาลปัจจุบัน
  • สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ ๘-๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓
  • สหภาพพม่า ระหว่างวันที่ ๒-๕ มีนาคม ๒๕๐๓
  • สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๑๔ มิถุนายน – ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๐๓
  • อังกฤษ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๓ กรกฎาคม ๒๕๐๓
  • สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ ๒๕ กรกฎาคม – ๒ สิงหาคม ๒๕๐๓
  • สาธารณรัฐโปรตุเกส ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ สิงหาคม ๒๕๐๓
  • สวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๒ช-๓๑ สิงหาคม ๒๕๐๓
  • เดนมาร์ก ระหว่างวันที่ ๖-๙ กันยายน ๒๕๐๓
  • นอร์เวย์ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ กันยายน ๒๕๐๓
  • สวีเดน ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ กันยายน ๒๕๐๓
  • สาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ ๒๘ กันยายน – ๑ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • นครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • เบลเยี่ยม ระหว่างวันที่ ๔-๗ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๔ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • ลักเซมเบอร์ก ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • เนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๗ ตุลาคม ๒๕๐๓
  • สเปน ระหว่างวันที่ ๓-๘ พฤศจิกายน ๒๕๐๓
  • สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๒ มีนาคม ๒๕๐๕
  • สหพันธรัฐมลายา ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๗ มิถุนายน ๒๕๐๕
  • นิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๖ สิงหาคม ๒๕๐๕
  • ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๒๖ สิงหาคม – ๑๒ กันยายน ๒๕๐๕
  • ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๒๗ พฤษภาคม – ๕ มิถุนายน ๒๕๐๖
  • สาธารณรัฐจีน ระหว่างวันที่ ๕-๘ มิถุนายน ๒๕๐๖
  • สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ ๙-๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๖
  • สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน – ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗
  • สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๘ สิงหาคม ๒๕๐๙ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง
  • สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน – ๒ ตุลาคม ๒๕๐๙ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง
  • อิหร่าน ระหว่างวันที่ ๒๓-๓๐ เมษายน ๒๕๑๐
  • สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๖-๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๐ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง
  • แคนาดา ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๐
  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ ๘-๙ เมษายน ๒๕๓๗

เมื่อเสร็จสิ้นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ แล้ว ก็ได้ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ที่เป็นประมุขของประเทศต่างๆ ที่เสด็จและเดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นการตอบแทน และบรรดาพระราชอาคันตุกะทั้งหลาย ต่างก็ประทับใจในพระราชวงศ์ของไทย ตลอดจนประชาชนชาวไทยอย่างทั่วหน้า

พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข

พระองค์ทรงมีความห่วงใยประชาชนของพระองค์ทุกด้าน โดยเฉพาะด้านสุขภาพอนามัย  และทรงถือว่าด้านสุขภาพอนามัยเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า “ ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด

เพื่อที่แพทย์เหล่านั้น ได้รักษาผู้ป่วยที่มาเฝ้ารับเสด็จได้ทันที นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุขมากมายได้แก่

  • โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
  • โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน
  • โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์
  • หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน
  • โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
  • โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้พระราชทาน
  • โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์
  • หน่วยงานฝ่ายคนไข้ ในกองราชเลขานุการ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

การยกระดับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

โครงการตามพระราชดำริของพระองค์นั้น มีทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสีย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีทั้งโครงการขนาดใหญ่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมได้ เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่จังหวัดลพบุรี จนถึงโครงการขนาดกลางและเล็กจำพวก ฝาย อ่างเก็บน้ำ โดยพระองค์ทรงคำนึงถึงลักษณะของภูมิประเทศ สภาพแหล่งน้ำ ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ ประชาชนที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากโครงการ มาเป็นหลักในการพิจารณา พระองค์ได้ทรงวิจัยและริเริ่มโครงการฝนหลวง เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน

ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และน้ำเน่าเสียในคูคลอง มีพระราชดำริเรื่อง แก้มลิงที่ช่วยควบคุมการระบายน้ำจาก แม่น้ำเจ้าพระยาสู่แม่น้ำท่าจีน ลำคลองต่าง ๆ ลงสู่ทะเลอ่าวไทตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ทั้งยังเป็นการใช้น้ำดีไล่น้ำเสียออกจากคลองได้อีกด้วย เครื่องกลเติมอากาศ กังหันชัยพัฒนา ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่มออกซิเจน เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งของพระองค์ที่ได้รับสิทธิบัตรจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา  และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี,ศ.เสน่ห์ จามริก,ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542

โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ด้านความมั่นคงภายในประเทศ

ตลอดระยะเวลา 60 ปีของการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มโครงการในพระราชดำริเพื่อการพัฒนาประเทศไว้มากมาย ทรงใช้เวลาศึกษาแผ่นดินไทย และรายละเอียดของพื้นดิน ภูมิประเทศหลักๆของแหล่งน้ำการเกษตร ความต้องการของประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพว่าถิ่นไหนเหมาะแก่การครองชีพอย่างไร

โดยทรงทราบถึงความทุกข์ของประชาชนผ่านการถ่ายทอดจากปากสู่พระกรรณ และจากสายพระเนตรที่ทรงพบเห็นด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่เริ่มแรกเสด็จขึ้นครองราชย์จนถึงปัจจุบัน มีพระราชดำริให้จัดตั้งมูลนิธิ 7 มูลนิธิ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกกว่า 2,000 โครงการ ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และพัฒนาน้ำเป็นอันดับแรก

รองลงมาก็คือดิน ธรณีวิทยา การเกษตรทั้งหลาย ตลอดจนการจัดสรรที่ดิน รวมถึงการอนุรักษ์และพัฒนาป่า โครงการที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับทั่วโลก มีอาทิ “โครงการหลวง” กำเนิดขึ้นจากการที่ได้ทอดพระเนตรถึงปัญหาการปลูกฝิ่น และทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขา จึงมีรับสั่งให้ทดลองหาพืชเมืองหนาวให้ชาวเขาปลูกแทนฝิ่น, “โครงการฝนหลวง” กำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของประชาชนในถิ่นทุรกันดาร

สำหรับประชาชนที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม ทรงศึกษาค้นคว้าแนวทางการทำฝนหลวงด้วยพระองค์เอง ก่อนจะโปรดเกล้าฯให้ดำเนินการทดลองในท้องฟ้าจริงเป็นครั้งแรก ที่วนอุทยานเขาใหญ่ เมื่อปี 2512 ซึ่งสำนักสิทธิบัตรยุโรปได้ออกสิทธิบัตรถวาย

นอกจากนี้พระองค์ทรงนับเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกและพระองค์เดียวในโลก ที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงคือ โครงการพัฒนาคนตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งได้พระราชทานเป็นแนวทางการพัฒนาคนอย่างยั่งยืน และเป็นหนทางแก้ไขวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ทั้งหลายทั้งปวงนี้คือ พระราชสัตยาอธิษฐานที่ทรงตั้งปณิธานมาตลอด 6 ทศวรรษการครองสิริราชสมบัติ พระองค์ไม่เพียงแต่จะเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก แต่ยังเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลกอีกด้วย

ด้านศิลปวัฒนธรรม

ทรงตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยที่ถดถอยลง ทรงตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพารและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

ด้านกีฬา

เรือใบเป็นกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของประเทศไทยลงแข่งเรือใบในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยทรงเข้าค่ายฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกซ้อม และทรงได้รับเบี้ยเลี้ยงในฐานะนักกีฬา เช่นเดียวกับนักกีฬาคนอื่นๆ

ในที่สุด ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทอง จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ท่ามกลางความปลื้มปีติของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วโลก ทำให้พระอัจฉริยภาพทางกีฬาเรือใบของพระองค์ที่ยอมรับกันทั่วโลก

พระองค์ยังได้ทรงออกแบบและประดิษฐ์เรือใบยามว่างออกมาหลายรุ่น พระองค์พระราชทานนามเรือใบประเภทม็อธ (Moth) ที่ทรงสร้างขึ้นว่า เรือใบมดเรือใบซูเปอร์มด และ เรือใบไมโครมด ถึงแม้ว่าเรือใบลำสุดท้ายที่พระองค์ทรงต่อคือ เรือโม้ค (Moke) เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เรือใบซูเปอร์มดยังถูกใช้แข่งขันในระดับนานาชาติที่จัดในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายคือเมื่อ พ.ศ. 2528 ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13 นอกเหนือจากกีฬาเรือใบแล้วยังทรงเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ เช่น แบตมินตัน เทนนิส ยิงปืน เป็นต้น

ด้านการเกษตร

“การเกษตรนั้นถือได้ว่าเป็นทั้งรากฐานและชีวิตสำหรับประเทศของเรา เพราะคนไทยเราส่วนใหญ่เป็นผู้มีอาชีพทางเกษตรกรรม. ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นเสมอมาว่า วิธีการพัฒนาที่เหมาะสมแก่ประเทศเราอย่างยิ่ง ก็คือจะต้องทำนุบำรุงเกษตรกรรมทุกสาขาให้พัฒนาก้าวหน้า

เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกระดับให้สูงขึ้น”ด้านการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจด้านนี้ พระองค์ได้เสด็จเยี่ยม ไต่ถามความทุกข์สุขของประชาชน และรับฟังข้อปัญหาเกิดเป็นโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชลประทาน การพัฒนาดิน การวิจัยพันธุ์พืชและปศุสัตว์ เป็นต้น ดังหัวข้อต่อไปนี้

ทรัพยากรน้ำ

โครงการตามพระราชดำริของพระองค์ มีทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสีย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีทั้งโครงการขนาดใหญ่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมได้ เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่จังหวัดลพบุรี จนถึงโครงการขนาดกลางและเล็กจำพวก ฝายอ่างเก็บน้ำ

โดยพระองค์ทรงคำนึงถึงลักษณะของภูมิประเทศ สภาพแหล่งน้ำ ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ ประชาชนที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากโครงการ มาเป็นหลักในการพิจารณา พระองค์ได้ทรงวิจัยและริเริ่มโครงการฝนหลวง เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน

ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และน้ำเน่าเสียในคูคลอง ทรงมีพระราชดำริเรื่องแก้มลิง ควบคุมการระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำท่าจีน ลำคลองต่าง ๆ ลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ทั้งยังเป็นการใช้น้ำดีไล่น้ำเสียออกจากคลองได้อีกด้วย เครื่องกลเติมอากาศ กังหันชัยพัฒนา ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่มออกซิเจน เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งของพระองค์ที่ได้รับสิทธิบัตรจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคมพ.ศ. ๒๕๓๖

เกษตรทฤษฎีใหม่

ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน 3:3:3:1 เป็นหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้

  • มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
  • มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี
  • มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย 3 ขั้นตอน เพื่อให้พอเพียงสำหรับเลี้ยงตนเองและเพื่อเป็นรายได้

พื้นที่โครงการตามแนวทฤษฎีใหม่

  • โครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน บ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
  • โครงการทฤษฎีใหม่ปักธงชัย หรือ ทฤษฎีใหม่บ้านฉัตรมงคล ตำบลปักธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัยโครราช
  • ทฤษฎีใหม่หนองหม้อ ตำบลหนองหม้อ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

ด้านศาสนา

พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในการเปิดพระราชพิธีเนื่องในวโรกาสต่างๆอาทิเช่น พระราชพิธีบำเพ็ญการกุศล ทรงสนับสนุนให้มีการสร้างศาสนสถาน อีกทั้งยังทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนา ไม่ใช่เฉพาะแต่ศาสนาที่พระองค์ทรงนับถือ เนื่องจากทุกศาสนาต่างสอนให้คนเป็นคนดี

References

  • เรารักพระเจ้าอยู่หัว.com
  • king.kapook.com
  • th.wikipedia.org

Latest