ปัญหาผมร่วง ปัญหาหนักใจที่สามารถเกิดได้ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย ซึ่งโดยปกติจะเกิดการผลัดและหลุดร่วงของเส้นผมทุกวัน ประมาณ 50-100 เส้นต่อคนต่อวัน หรือมากที่สุดไม่เกิน 200 เส้นต่อคนต่อวัน (เมื่อสระผม)
ถ้าผมร่วงมีปริมาณมากเกินกว่านี้แสดงว่า เป็นอาการผมร่วงที่เกิดจากความผิดปกติ ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ พันธุกรรม และการใช้ยาบางชนิด
ผมร่วงเรื่องปกติหรือเปล่า?
ผมหลุดร่วงนั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดได้ทุกวัน ถ้าอยู่ในปริมาณที่ปกติ ซึ่งผมของเราจะหลุดร่วงทุกวัน เฉลี่ยวันละ 50-100 เส้น หรือ 200 เส้นในวันที่สระผม
ซึ่งหากมีปริมาณผมร่วงมากเกินกว่านั้น ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็ควรหันกลับมาใส่ใจ และเช็คดูต้นเหตุที่มาของอาการผมร่วง
อาการผมร่วง (Alopecia) นั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
ทั้ง กรรมพันธุ์, ความผิดปกติของฮอร์โมน, ความเจ็บป่วยเรื้อรัง, ภูมิแพ้, การใช้ยาบางชนิด, อาการบาดเจ็บ การทำร้ายเส้นผมจากสารเคมี, ความเครียด ความกังวล ภาวะทางจิต หรือแม้แต่ “ผมร่วงเพราะโภชนาการบกพร่อง” หรือ “ขาดสารอาหาร”
“ผมร่วง” จากความผิดปกติทางร่างกาย
อาการผมร่วงที่เกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์, ความผิดปกติของฮอร์โมน, หมดประจำเดือน, ภูมิแพ้, เจ็บป่วย เป็นโรค, เป็นโรคผิวหนังบนหนังศีรษะ หรือการใช้ยาบางชนิด แพ้สารเคมีที่ใช้กับเส้นผม
หากมีอาการผมร่วงมากผิดปกติ ก็ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรับสมดุลให้กับฮอร์โมน ปรับการให้ยา ลด, หยุดการใช้สารเคมี หรือทำการรักษาอาการสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง
“ผมร่วง” จากความผิดปกติด้านจิตใจ
เมื่อพักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด ความกังวลอย่างรุนแรง หรือมีภาวะทางจิตใจไม่ปกติ สามารถทำให้เกิดอาการผมร่วง หรือในบางคนอาจเกิดภาวะดึงผมโดยไม่รู้ตัวได้
ซึ่งอาการดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือ หากผ่านพ้นความเครียด และความกังวลไป ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้ว อาการผมร่วงจะค่อยๆ ดีขึ้น
“ผมร่วง” จากความบกพร่องด้านโภชาการ
การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผมร่วง โดยเฉพาะคนที่กินอาหารไม่ปกติ งดหรือตัดอาหารบางชนิดมากๆ จำกัดโปรตีน จำกัดปริมาณแป้ง ไม่ทานผักและผลไม้ ทานอาหารน้อยเกินไป ลดน้ำหนักเร็วเกินไป หรือ ลดน้ำหนักแบบผิดวิธี
ซึ่งพฤติกรรมด้านโภชนาการแบบนี้ หากทำติดต่อกันอาจทำให้เส้นผมเปราะ หัก และหลุดร่วงได้ง่าย
อาการผมร่วงจากความบกพร่องด้านโภชนาการนั้น ส่วนนึงเกิดจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะ กลุ่มวิตามินบี ได้แก่ วิตามินบี 3, บี 5, บี 6, และบี 7 (ไบโอติน) ธาตุเหล็กและ สังกะสี
ลด “ผมร่วง” ต้องใส่ใจโภชนาการ
เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร แล้วทำให้เกิดอาการผมร่วง ก็ควรเลือกกินอาหารให้หลากหลาย โดยสลับสับเปลี่ยนกันไป เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน หรือ อาจเสริมด้วยการทานวิตามินในกลุ่ม วิตามิน B7 หรือ ไบโอติน วิตามิน C ธาตุเหล็ก และสังกะสี และควรศึกษาปริมาณการกินให้เหมาะสม โดยขอคำปรึกษาจากเภสัชกรผู้มีความรู้
วิตามิน B7 หรือ ไบโอติน ให้ได้มากกว่าช่วยบำรุงผมและเล็บ
คนส่วนมากจะรู้จัก วิตามิน B7 ในชื่อ “ไบโอติน” มีอยู่ทั้งในอาหาร และในรูปแบบของอาหารเสริม ร่างกายเราจำเป็นต้องใช้ “ไบโอติน” ในกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่โดยเฉพาะเซลล์ที่แบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา เช่น ผิวหนัง เส้นผมและเล็บ เป็นสารตัวนึงที่เป็นตัวช่วยในการย่อยสลายอาหารให้เป็นน้ำตาล เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน และยังช่วยให้ ตา ตับ และระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
วิตามิน B7 หรือ ไบโอติน เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำได้ดี ปริมาณที่ควรได้รับต่อวันอยู่ที่ 30-35 mcg. แต่สำหรับคนที่กินอาหารไม่ปกติ อดอาหาร งดแป้ง และเนื้อสัตว์ มีภาวะโรคบางชนิด หรือมีภาวะ “Biotinidase deficiency” อาจทำให้เกิดการขาดไบโอตินได้
เป็นที่มาของอาการผมหงอก ผมหลุดร่วง ปัญหาผิวหนังอักเสบ ผื่นคัน เล็บเปราะ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ซึ่งปริมาณความต้องการ ไบโอติน อาจมากกว่าคนปกติ
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางการแพทย์ แนะนำว่าการรับประทาน ไบโอติน 500-1000 mcg. ยังสามารช่วยลดปัญหาการหลุดร่วงของเส้นผม และช่วยให้เล็บแข็งแรงขึ้นได้
อาหารดีๆ ช่วยดูแลผม
สำหรับผู้ที่พบว่าผมร่วงมาก ให้ลองเพิ่มอาหารในกลุ่มเหล่านี้
- อาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ธัญพืช ถั่วต่างๆ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ตับและผักต่างๆ (พบว่าการขาดธาตุเหล็กมีผลทำให้เกิดภาวะผมร่วงได้)
- อาหารที่มีสังกะสี ได้แก่ ธัญพืช ข้าวโพด ข้าว และ เนื้อสัตว์ ( แร่ธาตุสังกะสี ยังช่วยแก้ปัญหาผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย DHT ที่มีมากเกินไปอีกด้วย
- อาหารที่มีวิตามิน B และ ไบโอตินสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องใน ปลาเนื้อขาว ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ข้าว ข้าวโพด ธัญพืช และผักหลากสี (โดยเฉพาะ ไบโอติน พบว่าคนที่ขาดไบโอตินนั้นจะมีปัญหาเรื่องผมหงอกก่อนวัย ผมหลุดร่วง หัวล้าน ส่วนวิตามิน B3 ช่วยลดการเกิดฮอร์โมนเพศชาย DHT ตัวการหนึ่งที่ทำให้ผมร่วงด้วย และ วิตามิน B6 เองก็มีรายงานว่า สามารถทำให้เกิดภาวะผมร่วงได้เช่นกัน หากได้รับไม่เพยงพอ
หากปรับแล้วอาการผมร่วงยังไม่ดีขึ้นก็ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาต่อไป
สนับสนุนบทความโดย: Mega We Care “Regenez”
References
เรียบเรียง: lovefitt.com
- “แพทย์เตือน “ผมร่วง” เกินวันละ 50 เส้น ควรปรึกษาแพทย์” (www.dms.moph.go.th)
- “7 คำเตือน หยุด ผมร่วง ที่ต้นเหตุ”(นิตสารชีวจิต)
- “ผมร่วง เมื่อไรจึงเป็นปัญหา?” (www.bangkokhospital.com)
- “ตอบปัญหาเรื่องยาโดยเภสัชกรหน่วยคลังข้อมูลยา” (pharmacy.mahidol.ac.th)
- “Biotin Fact Sheet for Consumers” (ods.od.nih.gov)
- “Biotin – Vitamin B7” (hsph.harvard.edu)
- “ไบโอติน” (ตำราเวชศาสตร์ร่วมสมัย 2558, โครงการตำราร่วมระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)
- “A Review of the Use of Biotin for HairLoss”, Skin Appendage Disord 2017;3:166–169 (University of Louisville School of Medicine, Louisville, KY , and c Philadelphia College of Osteopathic Medicine, Philadelphia, PA , USA)