ขึ้นชื่อว่าของหวานใครๆก็ชอบโดยเฉพาะที่บ้านเราเป็นเมืองร้อน การได้ทานอะไรหวานๆเย็นๆก็ทำให้ ชื่นใจและสดชื่นได้ แต่ของแถมที่มากับ “ความหวาน” อย่าง “ความอ้วน” ต้นตอของสารพัดโรคร้าย เช่น “เบาหวาน”, “โรคหัวใจและหลอดเลือด” ฯลฯ ถึงจะทราบดีว่า “ความหวาน” มีภัยแฝงมากมาย แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ตระหนักถึงความน่ากลัวของมันเท่าไรนัก ขนมหวาน ๆ จึงยังขายดีเป็นเทน้ำเทท่ามาทุกยุคทุกสมัย เทรนการทานของหวานเครื่องดื่มหวานๆก็ผุดยี่ห้อใหม่ๆขึ้นมามากมาย ดังนั้นเราควรตระหนักได้แล้วว่า เราเองควรจะต้องทราบว่าความหวานเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับไวและเพศของเรา
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก แนะนำให้คนรับประทานน้ำตาลแค่วันละ 6 ช้อนชา (หรือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) เท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงโรคเบาหวาน ที่ถูกยกระดับให้เป็นโรคอันตรายเทียบเท่า “โรคเอดส์” แต่น่าตกใจเหลือเกินที่จากการสำรวจของกรมอนามัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กลับพบว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลมากถึงวันละ 20 ช้อนชา เกินกว่าปริมาณแนะนำถึง 3 เท่า โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ชอบดื่มน้ำอัดลมวันละหลายขวด หลายกระป๋อง เราจึงได้เห็นเด็กไทยจำนวนมากในยุคนี้มีภาวะน้ำหนักเกินตามมา จนสถิติ อ้วนลงพุงของเด็กไทยพุ่งสูงขึ้นที่สุดในโลก และในรอบ 5 ปีที่ผ่านมานี้ พบเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ขณะเดียวกันยังพบว่า มีคนไทยถึง 17 ล้านคน ดื่มน้ำอัดลมทุกวัน ไม่แปลกเลยที่สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน จะพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย
กลุ่มอายุ | ปริมาณพลังงานที่ใช้ต่อวัน | ปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อวัน |
เด็กอายุ 6-13 ปี | 1600 kcal | ไม่เกิน 4 ช้อนชา |
หญิงวัยทำงาน25-60 ปี | 1600 kcal | ไม่เกิน 4 ช้อนชา |
ผู้สูงอายุ60 ปีขึ้นไป | 1600 kcal | ไม่เกิน 4 ช้อนชา |
วัยรุ่นหญิง-ชาย 14-25 ปี | 2000 kcal | ไม่เกิน 6 ช้อนชา |
ชายวัยทำงาน 25-60 ปี | 2000 kcal | ไม่เกิน 6 ช้อนชา |
หญิง-ชาย ที่ใช้พลังงานมาก เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา |
2400 kcal | ไม่เกิน 8 ช้อนชา |
แล้วเจ้าปริมาณน้ำตาลที่บอก 1 ช้อนชาในที่นี้คือ 1 ช้อนชาที่ได้จากช้อนตวง หรือสามารถกะได้ง่ายๆด้วนสายตา คือประมาณ 1 องคตหัวแม่มือ นั้นเอง โดยพลังงานของน้ำตาล 1 ช้อนชานั้น จะอยูที่ 15-20 kcal นั้นหมายความว่าถ้าชาเขียวพร้อมดื่ม 1 ขวดมีปริมาณน้ำตาล 12 ช้อนชา ก็จะเทียบเท่าพลังงานที่ได้รับจากข้าว ประมาณ 2 ทัพพีครึ่งเลยทีเดียว
References
- ชนิดา และ สุนาฏ กองโภชนาการ กรมอนามัย
- kapook.com