Go to content

โพรไบโอติก (Probiotic) ตัวซ่อมสุขภาพสำหรับคนรุ่นใหม่

ร่างกายเรามีเพื่อนจุลินทร์ตัวน้อยอาศัยอยู่มากมาย โดยเฉพาะในลำไส้ ซึ่งจุลินทรย์ หรือโพรไบโอติกเหล่านี้ทำหน้าที่เสมือนกองทัพที่ช่วยดูแลความสมดุล ของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งเป็นตัวช่วยส่งเสริมสุขภาพของร่างกายอีกทาง

โพรไบโอติก

คนรุ่นใหม่หรือใคร ที่ใช้ชีวิตหนักหน่วง ทำงานหนัก กินไม่เลือก นอนน้อย ดื่มเป็นประจำ รู้ไหมว่าพฤติกรรมเหล่านี้ทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุลได้

70% ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นเกิดขึ้นภายในลำไส้ของเรา การเสริมอาหารที่มี โพรไบโอติก หรือจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เป็นอีกทางเลือกนึง ที่สามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพ โดยทำควบคู่กับการรักษาสมดุลการใช้ชีวิต ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่เครียดจนเกินไป ลดการดื่ม เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ มีกากใยสูง เลี่ยงอาหารแปรรูป ของทอดต่างๆ แล้วหาเวลาให้ร่างกายได้พักผ่อน นอนหลับอย่างเพียงพอ เพื่อส่งเสริมกลไกการซ่อมแซมสุขภาพด้วยธรรมชาติอย่างแท้จริง

ในร่างกายมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านล้านตัว

จุลินทรีย์ เพื่อนตัวน้อยมากประโยชน์

เหล่าจุลินทรีย์ในร่างกายของเรา มีจำนวนมากกว่าเซลล์มนุษย์ถึง 10 เท่า นี่แค่เฉพาะที่อยู่ในลำไส้ใหญ่เท่านั้นนะ เราแต่ละคนจึงมีเพื่อนจุลินทรีย์ตัวน้อย อาศัยอยู่ภายในร่างกายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านล้านตัว เลยทีเดียว จุลินทรีย์เหล่านี้จะอยู่ร่วมกันแบบพึ่งอาศัยกัน เอื้อประโยชน์ต่อกัน ถูกเลี้ยงดูโดยอาหารที่เรากินเข้าไป แล้วเจ้าจุลินทรีย์จิ๋วเหล่านี้ ก็จะทำงานตอบแทนร่างกายเรา คือมีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาสมดุลการทำงานของระบบต่างๆ มีส่วนช่วยในระบบย่อยอาหาร การดูดซึม และการขับถ่าย และรวมไปถึงการสร้างสื่อประสาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง

นอกจากเจ้าจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ที่มากมายมายแล้ว เรายังมีกองกำลังเม็ดเลือดขาว Gut-associated lymphoid tissue (GALT) ซึ่งถือเป็น 70% ของระบบภูมิคุ้มกัน จึงอาจพูดได้ว่า สุขภาพที่แข็งแรงนั้น เริ่มต้นขึ้นในลำไส้ โดยมีปฏิกิริยาระหว่างเหล่าจุลินทรีย์ และเม็ดเลือดขาวเป็นฐานสำคัญ

การใช้ชีวิตแบบนี้มีผลต่อจำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่

ไลฟ์สไตล์แบบนี้ น้องจุลินทรีย์ขอบาย

ไลฟ์สไตล์บางอย่าง ส่งผลกระทบต่อจำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งอาจทำให้มีความหลากหลายลดลง หรืออ่อนแอลง

การกินอาหารที่ใยอาหารน้อย กินอาหารแปรรูปเป็นประจำ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ พักผ่อนไม่พอ ความเครียดสูง ส่งผลให้เสียสมดุลของจุลินทรีย์ได้

นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ก็เป็นอีกสาเหตุนึงที่พบได้บ่อย เพราะยาปฏิชีวนะ เปรียบเหมือนระเบิดลูกโตที่ลงไปบอมบ์ คร่าชีวิตประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้เป็นจำนวนมาก ทั้งประชากรก่อโรค และประชากรดีที่เป็นผู้บริสุทธิ์

การทานโพรไปโอติกในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ช่วยอาการท้องเสียจากไม่ย่อยน้ำตาลและโตสในนม

เสริมความฟิต รักษาสมดุลประชากรจุลินทรีย์

อีกนึงทางเลือกที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความฟิตให้กับเหล่าจุลินทรีย์ตัวน้อยในลำไส้ใหญ่ คือการกิน โพรไบโอติก

โพรไบโอติก คือ อาหารที่มีจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อกินในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยเสริมกำลังเหล่าจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ก่อให้เกิดประโยชน์ดีๆ ต่อร่างกาย จึงมีงานวิจัยที่ใช้ โพรไบโอติก ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ร่วมในการรักษาโรค เช่น อาการท้องเสียจากการไม่ย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม ท้องเสียจากยาปฏิชีวนะ อาหารเป็นพิษ ลำไส้แปรปรวน ท้องผูก อาการภูมิแพ้ เป็นต้น

โพรไบโอติกที่มีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติ

อาหารอุดมโพรไบโอติก

รู้ไหม? โพรไบโอติก มีอยู่ในอาหารที่บริโภคกันอยู่ทั่วไป เช่น กิมจิ ผักดอง โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ปลาร้า นัตโต มิโสะ (เต้าเจี้ยว) หรือหากจะเลือกินเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อซ่อมสุขภาพ ควรเลือกที่การันตีได้ว่าโพรไบโอติกยังมีชีวิตอยู่ และแข็งแรง อึดทนต่อน้ำย่อยในระบบย่อยอาหารได้ (Arrive alive) มาพร้อม อินูลิน ที่เป็นอาหารของโพรไบโอติก (Synbiotics) เพื่อเลี้ยงจุลินทรีย์ให้มีชีวิต มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้โพรไบโอติกไปยึดเกาะอยู่ในลำไส้ใหญ่ได้ โดยไม่หลุดหรือถูกขับถ่ายออกไป (Stick to the gut) มีจุลินทรีย์ไม่ต่ำกว่า 5 สายพันธุ์ที่สามารถระบุสายพันธ์ได้ เพื่อผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจง และมีปริมาณน้องจุลินทรีย์ไม่น้อยกว่า 6.3 billion CFU

วิธีรักษาสมดุลของโพรไบโอติกในลำไส้ใหญ่ของร่างกาย

รักษาสมดุลโพรไบโอติก ต้องรักษาสมดุลชีวิต

ลองสำรวจตัวเองดู ว่าหากเรามีไลฟ์สไตล์แบบสุดเหวี่ยง ลุยงานหนัก ตารางสังสรรค์แน่น กินไม่เลือก นอนน้อย ก็มีโอกาสที่จะทำให้ประชากรจุลินทร์เพื่อนยากในลำไส้ใหญ่ของเราเสียสมดุลได้ การกินอาหารที่มีโพรไบโอติกเป็นประจำจึงเป็นอีกทางเลือกนึงที่มีส่วนช่วยในการซ่อมแซมสุขภาพ แต่ถ้าจะให้เกิดผลดีอย่างยั่งยืน ก็ควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุควบคู่กันไป ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ปรับสมดุลชีวิตส่วนตัว และเวลาการทำงานให้ดี ไม่เครียดจนเกินไป ลดการดื่ม การปาร์ตี้ลง เลือกกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ และหาเวลาให้ร่างกายได้พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ เท่านี้ก็ถือเป็นการส่งเสริมกลไกการซ่อมแซมร่างกายตามธรรมชาติได้แล้ว

ข้อมูลโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (หมอผิง)

สนับสนุนข้อมูลโดย สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์
#คิดถึงโพรไบโอติกคิดถึงนิวทริไลท์

References

  • Shreiner, Andrew B., John Y. Kao, and Vincent B. Young. "The gut microbiome in health and in disease." Current opinion in gastroenterology 31.1 (2015): 69.
  • Valdes, Ana M., et al. "Role of the gut microbiota in nutrition and health." Bmj 361 (2018).
  • Krishna Rao, Radha, and Geetha Samak. "Protection and restitution of gut barrier by probiotics: nutritional and clinical implications." Current Nutrition & Food Science 9.2 (2013): 99-107.

Latest