แหล่งโปรตีนมีมากมายพบได้ทั้งในพืช และเนื้อสัตว์ ถึงแม้ว่าคนส่วนมากเมื่อคิดถึงโปรตีนก็มักจะคิดถึงเนื้อสัตว์เป็นอันดับแรก จึงพยายามทาน นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆก่อนเพราะเชื่อว่าอาหารเหล่านี้จะช่วยให้แข็งแรง ซึ่งโปรตีนนั้นมีความสำคัญกับร่างกายมากโดยเฉพาะในวัยที่กำลังเจริญเติบโต เนื่องโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลักของร่างกาย นับตั้งแต่เส้นผมไปนถึงปลายเท้า ทุกๆส่วนของอวัยวะทั้งในและนอกร่างกายล้วนประกอบด้วยโปรตีน และเจ้าโปรตีนยังช่วยให้ร่างกายและอวัยวะต่างๆทำงานได้อย่างเป็นปรกติอีกด้วย
โปรตีนทำหน้าที่อะไร
เราทุกคนอาจจะรู้และเข้าใจเพียงแต่ว่าโปรตีนนั้นมีปรโยชน์ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและเสริมสร้ากล้ามเนื้อและการเจริญเติบโต ซึ่งหน้าที่ของโปรตีนนั้นมีมากมายไม่เพียงแต่ประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้น แต่ยังมีอีกหลายข้อดังนี้
- เป็นโครงสร้างของร่างกายเป็นโครงกระดูกโดยจะมีแคลเซียมฟอสฟอรัสและเกลือแร่มาช่วยทำให้แข็งขึ้น
- ทำหน้าที่ในการเป็นส่วนประกอบของอวัยวะและเซลล์
ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และสารอาหารต่าง ๆ ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย - เป็นภูมิต้านทานโรคซึ่งเป็นลักษณะของโปรตีน หรือภูมิต้านทาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดขาว
- เป็นองค์ประกอบของน้ำย่อยต่างๆ
เราควรทานโปรตีนเท่าไหร่ต่อวัน
สำหรับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมนั้น สามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ บุคคลทั่วไปที่ร่างกายไม่ได้ต้องการโปรตีนเป็นพิเศษ และบุคคลที่ต้องการโปรตีนสูง เช่นนักกีฬาหรือผู้ออกกำลังกายหนัก
สำหรับบุคคลทั่วไปนั้น องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า โดยปรกติแล้วร่างกายจะต้องการโปรตีนไม่น้อยกว่า 50 กรัมต่อวันต่อคน ถ้าหากได้รับน้อยเกินกว่าปริมาณที่กำหนดอาจส่งผลให้เจริญเติบโตช้า อ่อนเพลีย สมองสั่งการช้ากว่าปรกติทำให้มีความต้านทานต่อโรคต่ำ และอาจเจ็บป่วยและเป็นโรงต่างๆ ได้ง่าย โดยสามารถแบ่งปริมาณความต้องการโปรตีนได้ตามช่วงอายุดังนี้
- เด็กทารก(อายุ 1-3 ขวบ) จะต้องการโปรตีนอยู่ที่ 1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 15 กรัมต่อวัน
- เด็กเล็ก(อายุ 3-7 ขวบ) จะต้องการโปรตีนอยู่ที่ 1.1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 26 กรัมต่อวัน
- เด็กโต(อายุ 7-14 ขวบ) จะต้องการโปรตีนอยู่ที่ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 45 กรัมต่อวัน โดยโปรตีนในกลุ่มเด็กทั้ง 3 วัยนี้มีหน้าที่หลักในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและช่วยให้ร่างกายเจริณเติบโต
- ผู้ใหญ่ จะต้องการโปรตีนอยู่ที่ 0.8 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 55 กรัมต่อวัน โปรตีนในผู้ใหญ่จะมีหน้าที่หลักเพื่อไว้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- หญิงตั้งครรค์ จะต้องการโปรตีนอยู่ที่ 1.1-1.3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 75 กรัมต่อวัน โดยโปรตีนจะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการสร้างน้ำนมนั้นเอง
สำหรับนักกีฬาหรือผู้ออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถแบ่งความต้องการโปรตีนออกเป็น2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ถ้าคุณเป็นคนออกกำลังกายแบบ แอโรบิค หรือเน้นการคาร์ดิโอเป็นหลัก กิจกรรมที่อาศัยความทนทาน อย่างวิ่งระยะไกล กระโดดเชือก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ร่างกายจะใช้พลังงานไกลโคเจนและน้ำตาลมาใช้เป็นแรงต้น เมื่อพลังงานส่วนนี้ลดต่ำลงหลังจากการออกกำลังกายไปแล้วประมาณ 30-40 นาที จึงจะดึงไขมันมาใช้ ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการ จะอยู่ที่ประมาณ 1.2-1.4 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งหน้าที่ของโปรตีนของคนในกลุ่มนี้จะเข้าไปช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อ และช่วยลดอาการบาดเจ็บขณะและหลังฝึกซ้อม
ส่วนอีกกลุ่มคือคนที่ออกกำลังกาย แบบ แอนนาโรบิค เป็นการออกกำลังกายที่เซลล์ไม่ได้ใช้ออกซิเจน เพราะเป็นการออกแรงใช้กำลังแบบไม่สม่ำเสมอ แต่จะมีความหนักและแรงต้าน เช่น การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง ชกมวย ยกน้ำหนัก โดยร่างกายจะใช้พลังงานไกลโคเจนและน้ำตาลเป็นหลัก ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการ จะอยู่ที่ประมาณ 1.2-1.7 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับความหนักของการฝึก โดยโปรตีนมีส่วนสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่ฝึกเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ และกลุ่มผู้เล่นกีฬาเพาะกายเพราะการทานโปรตีนในกลุ่มนี้จะช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ช่วยซ่อมแซม กล้ามเนื้อ เนื้อเยื้อ และเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและทำให้ฮอลโมลต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น
References
เรียบเรียง: lovefitt.com
- doctor.or.th
- th.wikipedia.org
- thaifittips.com
- nutrilite.co.th
- running.competitor.com
- naturalnews.com
- นิตยสารเพื่อนสุขภาพ lemon farm