นพ.เปี่ยมโชค ชลิดาพงศ์ คุณหมอที่จบแพทย์แผนปัจจุบันแต่มีความเชี่ยวชาญด้านโภชนาการ โดยปัจจุบันได้ให้คำแนะนำเรื่องโภชนาการเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยแทนการใช้ยา นพ.เปี่ยมโชค ด้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “ทำไมคุณถึงป่วย? อีกมุมหนึ่งของความรู้สุขภาพที่หมอของคุณอาจไม่เคยบอกคุณมาก่อน” ข้อมูลที่เขียนนี้ถือได้ว่ามีประโยชน์ต่อผู้อ่านเพราะได้รวบรวมงานเขียนและงานวิจัยหลายชิ้นในต่างประเทศ โดยมีความบางตอนที่น่าสนใจและผู้อ่านหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนมาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะดังนี้
จากหนังสือ “Lick the sugar habit” ที่เขียนโดย Nancy Appleton ตีพิมพ์ ปี 1992 เธอเป็นปริญญาเอกทาง Clinical nutrition ในหนังสือเล่มนี้ได้สรุปไว้ว่า มีโรคและอาการกินหวานอยู่ถึง 110 ชนิด จะเรียกได้ว่าโรคที่เรานิยมเป็นอยู่ในยุคนี้มีสาเหตุมาจากน้ำตาลมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ทำให้ฟันผุ, ให้กระดูกผุ, ทำให้แก่เร็ว, ทำให้อ้วน, ทำให้หลั่งอดรีนาลีนอย่างรวดเร็วในเด็ก, ทำให้เกิดหอบหืด, ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้, ทำให้เด็กเป็นโรคผิวหนัง เอ็กซีม่า, ทำให้ปวดศีรษะไมเกรน, ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ, ทำให้เกิดริดสีดวงทวาร, ทำให้เป็นต้อกระจก, ทำให้สายตาสั้น, ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า, ทำให้ไขมันในตับเพิ่มขึ้น, ทำลายตับอ่อน, ทำให้เป็นโรคเบาหวาน, ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง, ทำให้เกิดนิ่วในไต, เพิ่มโอกาสที่จะเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร, เพิ่มโอกาสมะเร็งลำไส้ใหญ่, เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งถุงน้ำดี ฯลฯ
ที่น่าสนใจคือ น้ำตาลทำให้เกิดสมาธิสั้น ความวิตกกังวล อารมณ์แปลกประหลาดในเด็ก โดยมีตัวอย่างจากหนังสือ alternative medicine ฉบับเดือนกันยายน 2004 หน้า 24 ชื่อ the real reason sweets make kids jumpy บทความนี้เป็นงานวิจัยที่ทำในอังกฤษ พบว่า:
ความหวานและสีผสมอาหารที่มีอยู่ขนมหวาน ลูกอม และน้ำอัดลม มีส่วนในการทำให้เด็กที่กินของเหล่านี้เข้าไปเกิดอาการสมาธิสั้น เป็นการศึกษาในเด็กอายุ 3 ขวบ จำนวน 277 คน โดยการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของเด็กเหล่านี้ในช่วงเวลาที่เด็กกินอาหารที่มีความหวาน มีสีผสมอาหาร และอาหารที่ไม่มีความหวาน ไม่มีสีผสมอาหารซึ่งพบว่า ในช่วงที่เด็กกินอาหารที่มีความหวาน มีสีผสมอาหารและอาหารที่ไม่มีความหวาน ไม่มีสี พฤติกรรมของสมาธิสั้นลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง กลุ่มที่ทำงานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่าการลดปัญหาของอาการสมาธิสั้นคือ ให้เด็กกินอาหารที่มีความหวาน มีสีผสมอาหารลดลง โดยเน้นที่อาหารและขนมสำเร็จรูปทั้งหลาย ขนมหวาน ลูกอม และน้ำอัดลม ขนมถุงจำพวกขบเคี้ยวทั้งหลายด้วย
นอกจานี้บางคนอาจะไม่รู้ว่า น้ำตาลสามารถกดการทำงานของเม็ดเลือดขาวได้ (Sugar suppress lymphocyte) พูดง่ายๆก็คือกดการทำงานของภูมิต้านทานนั่นเอง จากหนังสือของนายแพทย์ James Braly ปี 1992 ชื่อ DR.BRALY’S FOOD ALLERTY & NUTRITION – REVOLUTION หน้า 242 เรื่อง “How to eat” มีข้อความแปลเป็นไทยว่า “ในบางคนน้ำตาลกดการทำงานของเม็ดเลือด โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นตัวหลักของภูมิต้านทาน (เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่สำคัญคือคอยทำลายเชื้อโรค และปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม) ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าคุณกินน้ำอัดลม 1 กระป๋อง หรือกาแฟใส่น้ำตาล 1 ถ้วย แล้วตามด้วยขนมหวานอีก 1 ชิ้น เม็ดเลือดขาวของคุณจะทำงานลดลง 75 เปอร์เซนต์ และจะเป็นอย่างนี้อยู่นาน 6-8 ชั่วโมง กว่าจะกลับมาทำงานตามปกติ”
จากหนังสือ Low Carb Energy ฉบับเดือน มีนาคม 2005 หน้า 87 ชื่อเรื่อง “SUGAR a Serious addiction you can break” รายงานนี้เขียนโดยแพทย์หญิง Christine Horner คุณหมอคริสติน บรรยายเรื่องหวานกดภูมิต้านทานแปลเป็นไทยได้ว่า “นักวิจัยพบว่าการกินหวานกดภูมิต้านทาน โดยไปกดการทำงานของเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า T lymphocyte ยกตัวอย่าง ถ้ากินขนมหวานชิ้นใหญ่ซัก 1 ชิ้น ความหวานจะกดการทำงานของเม็ดเลือดขาวประมาณ 50-94 เปอร์เซนต์ นาน 5 ชั่วโมง”
นอกจากนี้ในหนังสือ Improving genetic expression in the prevention of the diseases of aging โดย Jeffery S. Bland, Ph.D. และ institute for functional medicine ปี 1998 หน้า 69 แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลจะกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ได้ง่ายขึ้น และมากขึ้นภายในหลอดเลือด และอนุมูลอิสระเหล่านี้ก็จะทำลายผนังหลอดเลือดทั่วไปหมด และทำลายทุกอย่างที่เลือดวิ่งไปถึงทุกเซลล์ของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งก็ควรจะทราบด้วยว่า ในรายงานของ Gordon Research Institute USA มีข้อความว่า “เซลล์มะเร็งมี Glucose receptor หรือ จุดสำหรับดูดซึมน้ำตาลเข้าเซลล์มากกว่าเซลล์ปกติถึง 24 เท่า แสดงให้เห็นว่าเซลล์มะเร็งมีความสามารถดูดซึมน้ำตาลได้เร็วมากและจำนวนมาก เพราะฉะนั้นคนไข้มะเร็งที่กินหวานก็เท่ากับส่งเสบียงให้เซลล์มะเร็งโดยตรง แม้ความหวานและน้ำตาลจะอันตรายและก่อให้เกิดโรคและปัญหามากมาย แต่บางคนต่อให้รู้ก็อาจจะเลิกยากเพราะมีงานวิจัยระบุว่าน้ำตาลอาจเป็นสารเสพติดอีกชนิดหนึ่ง !?
จากหนังสือของนายแพทย์ James Braly ปี 1992 ชื่อ Dr. Braly’s Food Allergy & Nutrition-Revolution หน้า 455 เรื่อง “Corn Syrup” ซึ่งน้ำตาลจากข้าวโพดนี้เป็นสารให้ความหวานที่ผสมอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูป เกือบทุกชนิด ตั้งแต่ขนมถุง ลูกอม ยันน้ำอัดลม “เป็นสารเสพติดและก่อให้เกิดภูมิแพ้อย่างแรง”
จากหนังสือ Low Carb Energy ฉบับเดือน มีนาคม 2005 หน้า 86 ชื่อเรื่อง “SUGAR A Serious addiction you can break” รายงานนี้เขียนโดยแพทย์หญิง Christine Horner ได้บรรยายเอาไว้ว่า คนอเมริกันกินน้ำตาลเฉลี่ย 60 กิโลกรัม/คน/ปี และตัวเลขที่น่ากลัว คือ โดยเฉลี่ย เด็กกินเป็น 2 เท่าของผู้ใหญ่ และในหนังสือเล่มนี้ก็เขียนไว้ทำนองเดียวกับหนังสือ LICK THE SUGAR HABIT ก็คือ ความหวานเพิ่มโอกาสการเป็นโรคร้ายหลายชนิด เช่น ลำไส้ใหญ่เป็นแผลอักเสบเรื้อรัง หอบหืด ข้ออักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ ไมเกรน ซึมเศร้า โรคเหงือก ฟันผุ เบาหวาน อ้วน กระดูกผุ โรคหัวใจ และหลอดเลือด ฯลฯ
ในหนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องการเสพติดไว้ดังนี้ ความหวานกระตุ้นสมองที่ตำแหน่งเดียวกับ มอร์ฟีน เฮโรอีน และ โคเคน และยังอ้างถึงวารสาร NEURO IMAGE ฉบับเดือนเมษายน 2004 ที่รายงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย เสตท ว่า เวลาเราอยากกินหวานๆ สมองจะมีปฏิกิริยาเหมือนเราอยากเสพมอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคน และเวลาเราได้กินหวานๆ สมองจะมีปฏิกิริยาเหมือนเรา ได้เสพมอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคน ทั้งนี้มีการทดลองในหนู โดยให้หนูกินอาหารและน้ำหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหนูกินน้ำหวานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และกินอาหารลดลง และเมื่อหยุดน้ำหวาน หนูจะเกิดอาการลงแดงทันที คือ ปากสั่น ตัวสั่น และเมื่อให้กินน้ำหวานอาการเหล่านี้ก็จะหายไป
คราวนี้แบ่งหนูออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้น้ำหวาน กลุ่มที่สองให้มอร์ฟีน โดยเริ่มจากกลุ่มแรกให้หนูกินน้ำหวาน พอหยุดน้ำหวานหนูจะเกิดอาการลงแดงทันที คือ ปากสั่น ตัวสั่นอีก แต่คราวนี้ให้ยาชื่อ naloxone พบว่า หนูหายจากอาการปากสั่น ตัวสั่น (ยา naloxone เป็นยาที่ใช้ช่วยในการเลิกยาเสพติดพวกมอร์ฟีนและเฮโรอีน) หลังจากนั้นเริ่มให้มอร์ฟีนหนูอีกกลุ่มหนึ่ง จนหนูติดมอร์ฟีนแล้วหยุดให้มอร์ฟีน หนูเกิดอาการลงแดงทันที ปากสั่น ตัวสั่น เค้าก็ให้ยา naloxone หนูก็หายลงแดงทันที ซึ่งเป็นลักษณะแบบเดียวกัน ดังนั้นเมื่อได้ทราบข้อมูลข้างต้นแล้ว ต่อไปใครอยากจะอร่อยปากด้วยความหวาน ให้ใคร่ครวญให้ดีว่าเราอยากจะหายจะโรคที่เราเป็นด้วยการหยุดกินหวานได้แล้วหรือยัง?
References
- Manager.com