Go to content

มารู้จัก คาร์โนซีน (Carnosine) ไดเปปไทด์ขนาดเล็ก

คาร์โนซีนเป็นสารไดเปปไทด์ขนาดจิ๋ว มีประโยชน์ต่อร่างกาย การได้รับคาร์โนซีนอย่างเพียงพอ มีส่วนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และส่งผลต่อการทำงานของสมองให้ทำงานได้ปกติ และยังมีส่วนช่วยลดอาการสมองล้าอีกด้วย

อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เนื้อหมู ไข่ นม เนื้อไก่ มีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายต้องการอยู่มากมาย  หนึ่งในนั้นก็คือ “คาร์โนซีน (Carnosine)” กรดอะมิโนที่ประกอบรวมกัน กลายเป็นไดเปปไทด์ขนาดเล็กจิ๋ว ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

คาร์โนซีน ไดเปปไทด์ เพิ่มประสิทธิภาพของสมอง ลดการเมื่อยล้า


สารคาร์โนซีน มีคุณสมบัติมีส่วนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ รวมถึงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยต้านการอักเสบ และยังช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง ระบบความจำ รวมถึงมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดอาการอึน สมองเหนื่อย สมองล้าได้ด้วยนะ

เรามาทำความรู้จัก คาร์โนซีน และคุณประโยชน์ดีๆ เพื่อร่างกายและสมองกันเลย!!!!

คาร์โนซีน มีประโยชน์ต่อสมอง

คาร์โนซีน คืออะไร?

คาร์โนซีน (Carnosine) เป็นหน่วยย่อยของโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เอง พบได้ตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น สมอง กล้ามเนื้อ หัวใจ และผิวหนัง คาร์โนซีน จัดเป็นสารไดเปปไทด์ (Dipeptide) ขนาดเล็ก ที่ประกอบขึ้นด้วยกรดอะมิโนที่มีประโยชน์สองชนิด คือ เบต้า-อะลานีน (β-alanine) และแอล-ฮีสทิดีน (L-Histidine)

ซึ่งถึงแม้ร่างกายจะสามารถสร้างสารคาร์โนซีนขึ้นได้เอง แต่ปริมาณการสร้าง สารคาร์โนซีนนี้อาจลดลงได้ เมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นการกินอาหารที่มีสารคาร์โนซีน หรือ อาหารที่มีโปรตีน จึงช่วยเติมปริมาณคาร์โนซีน ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้

คาร์โนซีน มีประโยชน์ต่อสมอง

คาร์โนซีน เพิ่มประสิทธิภาพของสมอง

ด้วยที่เจ้า คาร์โนซีน มีคุณสมบัติเด่นที่ช่วยต้านการเกิดอนุมูลอิสระ และต้านอาการอักเสบ จึงถูกเปรียบให้เป็นเสมือนเกราะคุ้มกันให้กับสมอง เพราะมีส่วนช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระต่างๆ ที่สร้างความเสียหายต่อเซลล์สมอง และอาจเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่นำไปสู่โรคทางสมองได้

นอกจากนี้ คาร์โนซีน ยังเป็นไดเปปไทด์ที่มีประโยชน์ต่อสมองส่วนหน้า ที่ส่งผลต่อระบบความคิด ความจำ และการตัดสินใจ สารคาร์โนซีนมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง และระบบประสาท ช่วยให้การไหลเวียนเลือดสู่สมองทำงานได้เป็นปกติ ทำให้สมองได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ รวมถึงมีส่วนช่วยควบคุมสารสื่อประสาทต่างๆ ทำให้การทำงานระหว่างเซลล์มีประสิทธิภาพ และยังช่วยชะลอความเหนื่อยล้าของสมอง ลดความกังวล เพิ่มสมาธิจดจ่อ สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

คาร์โนซีนมีในเนื้อสัตว์เท่านั้น

คาร์โนซีน พบได้จากที่ไหนบ้าง

ร่างกายได้รับสารคาร์โนซีนส่วนหนึ่ง จากการกินอาหารที่มีโปรตีน โดยเฉพาะโปรตีนจากเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลา ไข่ และเนื้อไก่ ไม่พบในพืช พบเฉพาะในเนื้อสัตว์เท่านั้น

นอกจากนี้การกินผลิตภัณฑ์อาหารเสริม คาร์โนซีน ชนิดแคปซูล หรือเลือกเป็นการดื่มซุปไก่สกัด ก็เป็นหนึ่งอีกทางเลือก ในการเสริม  เติมสารคาร์โนซีนให้กับร่างกาย เพราะกระบวนการความร้อนและความดันที่ดึงเอาสารคาร์โนซีนออกมาได้เข้มข้น ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวก ดื่มง่าย และดูดซึมได้เร็ว สำหรับคนที่เลือกดื่มเป็นซุปไก่สกัด ก็แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ไม่มีวัตถุกันเสีย ไม่ส่วนผสมของน้ำตาล ไขมัน และคอเลสเตอรอล

สำหรับอาหารเสริมคาร์โนซีนชนิดแคปซูล ควรศึกษารายระเอียดของผลิตภัณฑ์ หรือปรึกษาแพทย์ เภสัชกร ผู้เชียวชาญ ถึงปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการ

แนะนำให้ทานคาร์โนซีนในช่วงเช้าร่วมกับอาหารทั้ง 5 หมู่

คาร์โนซีน กินตอนไหนดี

ช่วงเวลาที่ควรได้รับสารคาร์โนซีน แนะนำให้กินในช่วงเช้า หรือในมื้อแรกของวัน  พร้อมกับอาหารหลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายดูดซึมนำเอาพลังงาน และสารอาหารต่างๆ ไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลทำให้สมองทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

สำหรับวัยเรียน วัยทำงานที่ต้องใช้สมองมากๆ การได้รับสารคาร์โนซีนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จะส่งผลให้การทำงานของสมองทั้งในด้านความจำ และการตัดสินใจ มีประสิทธิภาพในการทำงานและยังมีส่วนช่วย ลดภาวะสมองล้า ที่เกิดจากความเครียดได้อีกด้วย

โดยมีงานวิจัยของ Azhar Md Zain และคณะ ได้อธิบายถึงผลการศึกษา หลังให้กลุ่มทดลองดื่มเครื่องดื่มที่มีคาร์โนซีนในช่วงเช้าเป็นประจำทุกวัน ตลอด 2 สัปดาห์ เมื่อวัดผลด้วยชุดทดสอบร่วมกับการวัดการทำงานของสมอง พบว่า กลุ่มทดลองที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาร์โนซีนมีระดับความเครียดลดลง สามารถควบคุมความวิตกกังวลได้ดีขึ้น จึงมีสมาธิในการเรียนรู้ จดจ่อ ส่งผลให้ประสิทธิภาพความจำด้านต่างๆ ดีกว่าผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มซุปไก่หลอก

References

  • Cesak, et al. (2023). Carnosine and Beta-Alanine Supplementation in Human Medicine: Narrative Review and Critical Assessment, Nutrients. 15 (7), 1770. http://tinyurl.com/44us43er
  • Kim, et al. (2021). Carnosine Protects against Cerebral Ischemic Injury by Inhibiting Matrix-Metalloproteinases, International Journal of Molecular Sciences. 22 (14), 7495.http://tinyurl.com/2p8ue5t9
  • กองบรรณาธิการ POBPAD .(2023)คาร์โนซีน สารอาหารสำคัญ บำรุงสมอง เสริมความจำ. http://tinyurl.com/5n6rjkxr
  • WebMd (2014). Carnosine - Uses, Side Effects, and More. http://tinyurl.com/2mtkh8cf
  • Takashi Asada.( 2023). Potential Benefits of Carnosine A supplement being researched for Alzheimer's, diabetes, cancer, and more. http://tinyurl.com/bdebtzac
  • Shuntaro Yamashita, Mikako Sato, Takashi Matsumoto, Keishi Kadooka, Takanori Hasegawa, Tatsuya Fujimura & Yoshinori Katakura (2017). Mechanisms of carnosine-induced activation of neuronal cells. Bioscience, Biotechnology, and Biochemistry, 2018 Vol. 82, no. 4, 683–688
  • Medicine (Baltimore). (2016). Effectiveness of Essence of Chicken in Improving Cognitive Function in Young People Under Work-Related Stress. http://tinyurl.com/yc4uatt2

Latest