Go to content

นอนดี ความจำดี

การนอนหลับที่ดีและเพียงพอ มีส่วนช่วยให้ความจำดีขึ้น เพราะระบบความจำของเราต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งการนอนเป็นอีกทางนึง ที่สามารถเครียพื้นที่ในสมอง ทำให้ระบบความจำดีขึ้น และมีคุณภาพตามที่ควรจะเป็น

นอนดี ความจำดี

การนอนหลับที่ดีส่งผลถึงความจำที่ดี เพราะเมื่อเราเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย มันเป็นเรื่องยากที่เราจะมีสมาธิ ตั้งใจจดจ่อ กับสิ่งใดสิ่งนึง กลไกของสมองในการจดจำ ต้องอาศัยสมาธิ และความตั้งใจจดจ่อ เพื่อพัฒนาความจำ เราจึงต้องทำความเข้าใจสาหตุที่ทำให้เราเหนื่อยล้าเสียก่อน

เหนื่อยล้า เพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการนอนไม่หลับ หลับตื้นๆ หรือหลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน เมื่อเกิดอาการดังกล่าวต่อเนื่อง เกิดความง่วงสะสม อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ซึ่งกระทบต่อระบบความจำของสมอง

หลายคนเลือกที่จะดื่มเครื่องดื่มที่มี คาแฟอีน ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เพื่อช่วยลดความง่วง ซึ่งการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายตื่นตัว และหายง่วงได้เพียงช่วงเวลนึง จึงทำได้เพียงชะลอความง่วง และอ่อนเพลียออกไป ซึ่งอาจทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า และอ่อนเพลียเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมได้

อยากจำดี เครียพื้นที่สมองไว้รอท่า

เวลาที่เราเรียนรู้ข้อมูลใหม่ในแต่ละวัน ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวในสมองส่วนที่เรียกว่า hippocampus ที่อยู่บริเวณหลังดวงตา ซึ่งเป็นส่วนที่มีควมสำคัญต่อการสร้างความทรงจำระยะยาว สมองส่วนนี้มีพื้นที่ความจุจำกัด ถ้าหากใช้งานมาก มีเรื่องคิดเยอะ ก็อาจส่งผลให้พื้นที่หน่วยความจำเต็ม และยากที่จะเก็บข้อมูลใหม่เข้าไป

แต่ร่างกายก็เก่งพอที่จะมีระบบจัดการข้อมูลในสมอง โดยแต่ละคืน ช่วงที่เรานอนหลับ สมองจะทำการลบความจำที่ไม่จำเป็นบางส่วนออกไป เช่น อาทิตย์ที่แล้วเรากินอะไรไปในตอนเช้า หรือ เราใส่ชุดสีอะไรไปเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นต้น เพื่อเป็นการรักษาพื้นที่กล่องความจำให้ว่าง เพื่อรับข้อมูลใหม่ในวันรุ่งขึ้น

นอนเพื่อกักเก็บความทรงจำ

การนอนหลับ ช่วยให้เรารวบรวมความทรงจำที่เราต้องการเก็บไว้ โดยโอนถ่ายจากความจำระยะสั้น ไปเก็บในส่วนความจำระยะยาว ที่สามารถเรียกนำกลับมาใช้ได้ แม้เวลาผ่านไปหลายๆปี เช่นพวกข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง และทักษะการทำสิ่งต่างๆ ซึ่งระบบการเก็บความจำนี้ จะทำงานได้ดีในช่วงที่เรานอนหลับลึก นั่นแสดงว่าหากเรานอนไม่พอ หรืออดนอน ก็อาจทำให้ความสามารถในการเก็บความจำระยะยาวลดลงได้

การเชื่อมต่อความจำในขณะที่เราฝัน

ความจริงความฝันเกิดขึ้นในหลายๆ ช่วงของการนอนหลับ แต่ความฝันที่ทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนจริง และทำให้เกิดความสนใจ มักเกิดขึ้นในภาวะที่ดวงตาของเราเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในขณะนอนหลับ (REM) และส่งผลถึงร่างกาย ทำให้เกิดภาวะหยุดนิ่งเหมือนเป็นอัมพาตชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งในขณะที่หลับลึก(REM) สมองของเราจะเกิดความเชื่อมโยงกันระหว่างความทรงจำใหม่ ความทรงจำที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้า และความทรงจำเก่าในคลังข้อมูล ซึ่งอาจทำให้หลายคนที่ตื่นมาอาจได้พบกับมุมมองใหม่ หรือค้นพบวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ

นอนดี รู้สึกดีเมื่อตื่นนอน

เคยไหม ในวันที่แย่ๆ รู้สึกเศร้า และผิดหวังกับบางสิ่ง เมื่อได้พักผ่อนนอนหลับแล้ว ในเช้าวันรุ่งขึ้นกลับรู้สึกดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็รู้สึกผ่อนคลายขึ้น เพราะการนอนหลับช่วยลดอารมณ์ที่เชื่อมโยงกับความทรงจำที่เจ็บปวด ในขณะที่ยังคงรักษาความทรงจำนั้นเอาไว้ เราจึงยังคงจดจำได้ว่าอะไรทำให้เราผิดหวัง แต่อารมณ์ความรู้สึก ความเสียใจในเรื่องนั้นกลับน้อยลง

ส่งเสริมให้ความจำดี ต้องนอนดี และนอนอย่างเพียงพอ

การนอนหลับที่ดี ไม่เพียงแต่ได้นอน แต่ควรจะต้องหลับอย่างมีคุณภาพ และเพียงพอ ควรปรับวงจรของการนอนหลับให้สมดุล ปรับที่นอนให้เหมาะสม ทั้งแสงสว่าง เสียงรบกวนต่างๆ ลดกิจกรรมก่อนเข้านอนที่กระตุ้นให้หลับยาก อย่างการดูทีวี การเล่นโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ การกินอาหารมื้อหนักๆ ใหญ่ๆ ก่อนนอน การออกกำลังกายหนักๆ หากลด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยให้หลับได้ง่าย และทำให้การนอนหลับมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมระบบความทรงจำของสมองให้ทำงานได้ดีขึ้นอีกทางนึง

Latest