เรื่องของไข่กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์
ไข่ถือเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่มีคุณค่า ราคาถูก หาซื้อง่าย และเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายประเภท ทั้งคาวและหวาน ไข่เป็นอาหรที่เหมาะกับเด็กๆในวัยเจริญเติบโตเป็นอย่างดี เนื่องจากไข่มีปรโยชน์และสารอาหารหลายอย่าง จึงถึงกับว่าไข่เป็นอาหารบำรุงร่างกายเลยทีเดียว การริโภคไข่อย่างชาญฉลาดก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่หลากหลายและเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดโรคทางโภชนการได้
คุณค่าทางโภชนการของไข่
ชนิดของไข่ (นน.ดิบ 100 กรัม) |
พลังงาน (แคลอรี่) |
โปรตีน (กรัม) |
ไข่มัน (กรัม) |
แคลเซียม (มก.) |
ฟอสฟอรัส | เหล็ก | วิตามิน A (ไมโครกรัม) |
ไข่ไก่ทั้งฟอง | 160 | 12.3 | 11.7 | 126 | 204 | 1.6 | 272 |
ไข่เป็ดทั้งฟอง | 186 | 12.3 | 14.3 | 156 | 214 | 0.9 | 296 |
ไข่นกกระทา | 171 | 13.3 | 12 | 153 | 167 | 3.5 | 143 |
โคเรสเตอรอลกับการบริโภคไข่
โคเรสเตอตอลที่อยู่ในไข่จะอยู่เฉพาะในไข่แดง ไข่ขาวไม่มีโคเรสเตอรอล ในไข่แดงยังมีเลซิธีน (Lecithin) ที่เป็นสารช่วยบำรุงประสาทและสมองด้วย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น คนที่เป็นโรคอ้วน หรือ คนที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ก็จะแนะนำว่าต้องระวังในเรื่องของการบริโภคไข่ด้วย โดยเฉพาะไข่แดง การได้รับโคเรสเตอรอลในร่างกายไม่ควรเกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะฉนั้นไข่ 1 ฟอง มีโคเรสเตอรอลประมาณ 200 มิลลิกรัม ไข่เป็ด 250 มิลลิกรัม ไข่นกกระทาประมาณ 50 มิลลิกรัม จะเห็นว่าปริมาณการทานไข่ที่เหมาะสมคือประมาณ 1 ฟองต่อวัน
ควรทานไข่วันละกี่ฟอง
- เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ให้ไข่แดงต้มสุกผสมกับข้าวบดให้ครั้งละปริมาณน้อยๆ ก่อนแล้วค่อยๆเพิ่มขึ้น เด็กอายุ 7 เดือนขึ้นไปจนถึงวัยรุ่น ทานได้วันละ 1 ฟอง
- วัยทำงาน ควรบริโภค 3 – 4 ฟอง ต่อ สัปดาห์
- ผู้ป่วย ที่เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงควรบริโภค 1 ฟองต่อสัปดาห์ หรือตามแพทย์สั่ง
กินไข่อย่างไรให้ได้ประโยชน์
ควรบริโภคไข่สุก เพราะไข่ที่ไม่สุก เสี่ยงต่อการบนเปื้อนของเชื้อจุลลินทรีย์ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเละไข่ขาวที่ไม่สุกจะขัดขวางการดูดซึมไบโอติน นอกจากนี้ ไข่ไม่สุกยังย่อยยาก ทำให้ได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่ และที่สำัญผู้บริโภคควรบริโภคอาหารให้หลากหลายและครบทั้ง5 หมู่ในแต่ละมื้อให้มีผักและผลไม้ควบคู่ และควรออกกำลังกายให้สมวัยและอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดระดับโคเรสเตอรอลและไขมันส่วนเกินให้เป็นปรกติ
Credit: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข