คนไทยส่วนใหญ่ติดรสเค็ม และกินเค็มมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว ในขณะที่ร่างกายต้องการเกลือในปริมาณเพียงเล็กน้อย เพราะพื้นฐานของอาหารไทย เป็นอาหารรสจัด หวาน เค็มเป็นหลัก นี่ยังไม่นับรวม ขนมกรุบกรอบ ของว่างต่างๆ ที่มีเกลือ(โซเดียม)ผสมในปริมาณสูง
ซึ่งความเค็ม(โซเดียม) ที่มากเกินพอดีนั้น ส่งผลถึงสุขภาพในหลายๆ ด้านทำให้ความดันเลือดสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งส่งผลเสียต่อไต
มาลดเค็มได้ง่ายๆ ค่อยๆ ลดความเค็มในอาหารลง เลือกอาหารที่มีโซเดียมต่ำ อ่านฉลากเพื่อเลือกซื้ออาหาร และแบ่งกินได้อย่างเหมาะสม ลด งด การปรุงรสอาหารเพิ่ม “ชิม” ก่อนเติมเครื่องปรุง และเพิ่มปริมาณผักในมื้ออาหารให้มากขึ้น
รู้จักความเค็ม (โซเดียม)
โซเดียม (Sodium) คือ เกลือแร่ เป็นสารอาหารชนิดนึงที่ร่างกายใช้ควบคุม และรักษาความสมดุลของปริมาณน้ำในร่างกาย รักษาสภาพความเป็นกรด เป็นด่าง ช่วยในการทำงานของประสาท และกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) และยังช่วยในการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไต และลำไส้เล็ก
โดยปกติร่างกายได้รับโซเดียมจากอาหารที่กินเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ล้วนแล้วแต่มีโซเดียมตามธรรมชาติอยู่แล้ว แม้จะไม่ปรุงแต่งเพิ่ม
ถึงแม้ร่างกายเราจะต้องการใช้โซเดียม แต่ปริมาณความต้องการนั้น ไม่ได้สูงเท่าไหร่นัก ร่างกายต้องการ เกลือ หรือ โซเดียมเฉลี่ยไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่า เกลือ 1 ช้อนชา หรือ น้ำปลา 4-5 ช้อนชาเท่านั้น หรือ อาจต้องการเพิ่มากขึ้น เมื่อทำกิจกรรม ออกกำลังกาย ที่มีการสูญเสียเหงื่อ
ความเค็มเป็นเหตุ สังเกตได้
เมื่อเรารู้แล้วว่าร่างกายเราต้องการใช้เกลือในปริมาณเท่าไหร่
โซเดียม หรือ เกลือที่มากเกินความต้องการนั้น ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้มากมาย ทั้ง ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต
ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2561 พบว่ามีผู้ป่วยโรคไตในประเทศไทยมากถึง 8 ล้านคน และผลสำรวจทั่วโลกพบว่า ประชาการส่วนมาก กินเค็มเกิน 2-3 เท่า ของปริมาณที่ร่างกายต้องการ คือเฉลี่ยที่ 4,351.7 มก./วัน ซึ่งถือว่าอยู่ในสถานการณ์อันตราย
การปรับพฤติกรรม การกินอาหาร และการเลือกซื้ออาหาร โดยให้ความสำคัญต่อปริมาณโซเดียม จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วยลดการกินอาหาร ที่มีปริมาณโซเดียมสูงเกินไปได้
เริ่มลดเค็ม เริ่มได้ที่ตัวเรา
ลดเค็ม ลดโรคได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การเลือกอาหาร และวัตถุดิบ ให้เค็มน้อยลง “ชิม” ก่อนปรุงทุกครั้ง หรือหลีกเลี่ยงการปรุงเพิ่ม ลดความเค็มจาก ซอส เครื่องปรุงรส น้ำปลา ผงซุป หรือซุปก้อนลงครึ่งหนึ่ง ลดการกินอาหารที่รสจัดจ้านจนเกินไป
ปรับเปลี่ยนชนิดอาหาร เลือกที่มีประโยชน์ แต่โซเดียมต่ำมาทดแทน กินผักผลไม้ให้มากขึ้น หรือเพิ่มผัก และผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง ที่มีส่วนช่วยลดผลเสีย ที่เกิดจากโซเดียมลงได้
หรือหากเป็นคนติดรสเค็ม ลองใช้วิธีค่อยๆ ลดความเค็มในอาหารลงที่ละน้อย ฝึกปรับลิ้นให้ชินกับความเค็มที่น้อยลง ครั้งละ 10% เช่น ปกติเคยใส่น้ำปลา 1 ช้อน ก็ตักให้น้อยลง 10% ถ้าปรับเดือนละครั้ง จะสามารถปรับความเค็มลงได้ถึง 30% ใน 3 เดือนเลยทีเดียว
ช้อปดี เลือกที่เค็มน้อยลง
เลือกซื้ออาหาร และวัตถุดิบ เครื่องปรุงรสที่เค็มน้อยลง โดยดูได้จาก “เครื่องหมายทางเลือกสุขภาพ ” บนฉลากอาหาร และเครื่องดื่ม ที่ยืนยันมาตรฐานว่า อาหาร และเครื่องดื่มที่ได้รับตราสัญลักษณ์นั้น มีปริมาณ โซเดียม น้ำตาล และ ไขมัน ที่เหมาะสม หรือ เช็คได้จากฉลากโภชนาการ ที่แสดงปริมาณโซเดียมต่อจำนวนหน่วยบริโภค และแบ่งกินตามปริมาณที่ฉลากกำหนด
สนับสนุนบทความโดย
ลัคกี้ มี! บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบแห้ง โซเดียมต่ำ
ทางเลือกใหม่ สำหรับคอบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่ห่วงใยสุขภาพมากขึ้น
ความห่วงใยที่อร่อย รสชาติเข้มข้นจัดจ้าน แต่ไม่เค็มสะท้าน จนลำบากไต ด้วยปริมาณโซเดียมที่ 700 มก.ต่อซอง การันตีด้วยเครื่องหมาย “ทางเลือกสุขภาพ” ว่าหวาน มัน เค็ม กำลังพอดี
มีให้เลือกอร่อยด้วยกัน 2 รสชาติ
- รสผัดฉ่า
- รสมันกุ้ง
หาซื้อมาลองได้แล้วที่ 7-11 ทุกสาขาใกล้บ้าน
ความห่วงใยที่อร่อย #ลัคกี้มี #LuckyMeLowSodium #lowsodium #โซเดียมต่ำ #กินบะหมี่กันไมค์ #รีวิวเซเว่น
References
- “สถานการณ์ปัญหาสุขภาพของ คนไทยจากการบบริโภคเค็ม (โซเดียม)”.,(https://bit.ly/3w87qEz)
- “สถิติคนไทยติดเค็ม ป่วยไตเรื้อรังกว่า 8 ล้านคน”.,(https://bit.ly/3647zhv)
- “โซเดียมคืออะไร?”.,(https://bit.ly/2U8hn7A)
- “ใกล้เกลือไม่กินเกลือ ลดเค็มให้ได้ด้วยการปรับใจและปรับลิ้น”.,(https://bit.ly/3hecNfW)