WHO องค์การอนามัยโลก แนะนำให้เราได้รับโซเดียมได้ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่าเกลือประมาณ 1 ช้อนชา ต่อคนต่อวัน เพราะความเค็ม เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคได้มากมาย ทั้งโรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และไตวายเรื้อรังได้
การรับโซเดียมเข้าสู่ร่างกาย จะมาจากอาหารและเครื่องดื่ม อาหารบางชนิดมีโซเดียมตามธรรมชาติจำนวนหนึ่ง ประกอบกับการปรุงเพื่อเพิ่มรสชาติ ทำให้อาหารมีปริมาณโซเดียมเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าหากเรายิ่งปรุงรสอาหารเพิ่ม ก็จะยิ่งทำให้ปริมาณโซเดียมแฝงในอาหารแต่ละมื้อเพิ่มสูงขึ้น แถมพฤติกรรมการกินที่เลือกกินอาหารแปรรูป เพราะง่าย และสะดวกสบายกว่า ยิ่งทำให้วันๆ นึง เราอาจได้รับโซเดียมในปริมาณมาก กว่าที่ร่างกายต้องการ
จะเหยาะ จะปรุงเพิ่มเช็คโซเดียมก่อน
เครื่องปรุง | ปริมาณ | โซเดียมเฉลี่ย |
---|---|---|
เกลือป่น | 1 ช้อนชา | 2,000 มก. |
น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ | 1 ช้อนโต๊ะ | 2,000 มก. |
น้ำปลา | 1 ช้อนโต๊ะ | 1,350 มก. |
ซีอิ้วขาว | 1 ช้อนโต๊ะ | 1,190 มก. |
ซอสปรุงรส ซอสถั่วเหลือง | 1 ช้อนโต๊ะ | 1,187 มก. |
ซอสหอยนางรม | 1 ช้อนโต๊ะ | 518 มก. |
น้ำจิ้มไก่ | 1 ช้อนโต๊ะ | 385 มก. |
ซอสพริก | 1 ช้อนโต๊ะ | 231 มก. |
ซอสมะเขือเทศ | 1 ช้อนโต๊ะ | 149 มก. |
เห็นค่าความเค็มขนาดนี้ก็ต้องปรุงเพิ่มอย่างมีสติ และต้องไม่ลืมหลีกเลี่ยงการกินอาหารแปรรูปลง ลดเค็มลงครึ่งหนึ่ง ลดพุง ลดโรค
References
- www.lowsaltthai.com