อากาศร้อนจัดๆ ร้อนตับแลบ!! ระวังภาวะ “ฮีทสโตรก” อันตรายอาจถึงตายได้นะ
ฮีทสโตรก เป็นอาการบาดเจ็บทางร่างกายอย่างหนึ่ง ที่เกิดจาก ความร้อนทั้งภายนอก และภายในร่างกาย ประกอบกับสภาพแวดล้อมมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ร่างกายไม่สามารถจัดการระบายความร้อนออกได้ ทำให้เกิดอาการได้หลายระดับ ตั้งแต่ อ่อนเพลีย หน้ามืด จนถึงหมดสติ ไม่รู้สึกตัว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

เช็กชัดๆ เสี่ยงเกิดฮีทสโตรก หรือเปล่า
การที่จะเกิดภาวะฮีทสโตรกได้ ร่างกายต้องสัมผัสความร้อน และอุณหภูมิที่สูงอย่างต่อเนื่อง คนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะฮีทสโตรกได้แก่
- กลุ่มคนที่ต้องออกกำลังกลางแจ้ง คนทำงานกลางแดด สัมผัสอุณหภูมิสูงต่อเนื่อง
- คนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อย่างเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องอยู่ในห้องปิดทึบ ความร้อนสูงเป็นเวลานาน
- นักกีฬา เช่น กีฬากลางแจ้ง การวิ่งระยะยาว วิ่งมาราธอน ที่ต้องเจอกับความร้อนและความชื้นที่สูง
- คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันเลือด
- คนที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ เพราะเป็นปัจจัยทำให้เกิดการขับน้ำ และกระตุ้นทำให้เกิดภาวะ ฮีทสโตรกได้สูงขึ้น
ดูแลป้องกัน ภาวะฮีทสโตรก
วิธีการดูแลร่างกาย ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะฮีทสโตรก ก็คือพยายามลดความร้อน และการสูญเสียน้ำในร่างกาย
- ดื่มน้ำบ่อยๆ สม่ำเสมอ หรือหากต้องเจอกับความร้อนมากๆ ให้เพิ่มปริมาณการดื่มน้ำขึ้น และควรดื่มให้ได้ประมาณ 2-3 ลิตร/ วัน
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อนจัด อยู่กลางแดด หรืออยู่ในที่ร้อนปิดทึบเป็นเวลานานๆ
- พยายามเปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเท หรือ เปิดเครื่องปรับอากาศ พัดลม ช่วยในการระบบและลดความร้อน
หากทำกิจกรรมกลางแดดแล้วรู้สึกอ่อนเพลีย หมดแรง ให้ส่งสัญญาบอกคนรอบข้าง รีบระบายความร้อน ปลดเสื้อผ้าให้หลวม แล้วประคบด้วยผ้าเย็น หรือใช้สเปร์เย็นเพื่อระบายความร้อน และนั่งพักในที่มีลมและอากาศถ่ายเท หากพบผู้ป่วยหมดสติ ให้เรึยกหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน กู้ภัย หรือผู้เเชี่ยวชาญ เพื่อเข้ารักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และทำการ CPR ผู้ป่วย ณ บริเวณนั้น
References
- RAMA Channel