ขนมหวานไทยชื่อดีเป็นมงคลเหล่านี้มักใช้กันในงานบุญต่างๆ เช่นงานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน และงานบวงสรวงต่างๆ เนื่องจากมีชื่อที่เป็นมงคล มีความหมายและสืบทอดหลักการเหล่านี้ต่อๆกันมา ปัจจุบันขนมหวานไทยที่มีขายเหล่านี้หาซื้อได้ง่าย หลายคนคงเข็ดขยาดกับความหวานบ้าง แต่สำหรับคนที่ชอบก็ควรที่จะต้องเรียนรู้ปริมาณพลังงานและสารอาหารของขนมหวานแต่ละชนิด เพื่อนำไปปรับใช้และวางแผนการรับประทาน ไม่ให้รับประทานมากจนเกินไป และควรทานเป็นครั้งคราว เพื่อบริหารจัดการการควบคุมพลังงานที่ได้รับให้เหมาะกับการใช้งงานได้
ตารางโภชนการนี้ เปรียบเทียบจากปริมาณขนม 100 กรัม
ฝอยทอง | |
พลังงาน | 433 kcal |
น้ำ | 21.1 กรัม |
โปรตีน | 12.8 กรัม |
ไขมัน | 24.3 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 40.8 กรัม |
ขนมเม็ดขนุน | |
พลังงาน | 341 kcal |
น้ำ | 26.6 กรัม |
โปรตีน | 10.8 กรัม |
ไขมัน | 10.5 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 50.8 กรัม |
ขนมทองหยอด | |
พลังงาน | 299 kcal |
น้ำ | 32.6 กรัม |
โปรตีน | 3.6 กรัม |
ไขมัน | 6.1 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 57.3 กรัม |
ขนมชั้น | |
พลังงาน | 247 kcal |
น้ำ | 43.9 กรัม |
โปรตีน | 0.9 กรัม |
ไขมัน | 4.9 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 50.1 กรัม |
ข้าวเหนียวขาว หน้าสังขยา | |
พลังงาน | 249 kcal |
น้ำ | 47.4 กรัม |
โปรตีน | 4.5 กรัม |
ไขมัน | 8.4 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 38.6 กรัม |
ขนมหม้อแกงไข่ | |
พลังงาน | 244 kcal |
น้ำ | 50.2 กรัม |
โปรตีน | 7.6 กรัม |
ไขมัน | 9.5 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 32 กรัม |
Credit: กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรงสาธารณะสุข